ต้นเสน่ห์ขุนแผน นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เป็นว่านเมตตามหานิยม

ต้นเสน่ห์ขุนแผน

ชื่ออื่นๆ : ว่านขุนแผน, เสน่ห์ขุนแผน, สามกษัตริย์

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Calathea majestica

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calathea majestica M.Kenn. CU.Roseo-Lineata.

ชื่อวงศ์ : MARANTHACEAE

ลักษณะของต้นเสน่ห์ขุนแผน

เป็นพันธุ์ไม้ล้มลุกที่มีลำต้นใต้ดิน หัวมีสีเหลืองออกน้ำตาล มีรากใหญ่และแข็งแรง ใบมีลักษณะเป็นใบรีรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือตัดห่อตัวเข้าหาก้านใบ ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย พื้นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน มีลายเส้นริ้วคล้ายก้างปลาพาดทั้งสองข้างของแผ่นใบ เมื่อใบอ่อน เส้นพาดจะมีสีชมพู เมื่อแก่จะจางลงเป็นสีขาว จึงได้ชื่อว่าว่านสามกษัตริย์ ท้องใบมีสีม่วงแดง ลักษณะใบกว้าง แข็งและก้านใบยาว ดอกสีขาว ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดที่ปลายกิ่ง มีกาบรองดอกตั้งแต่สองใบขึ้นไปดอกย่อยมี กลีบเลี้ยงไม่เชื่อมติดกันชั้นของกลีบดอกเป็นท่อ แบ่งเป็นกลีบ 2-3 กลีบ โดยมีหนึ่งกลีบที่โค้งงอลง

ว่านเสน่ห์ขุนแผน
เสน่ห์ขุนแผน ใบสีเขียวเข้มเป็นมัน มีลายเส้นริ้วคล้ายก้างปลาพาดทั้งสองข้าง

การขยายพันธุ์ของต้นเสน่ห์ขุนแผน

แยกหน่อหรือแง่ง

ธาตุอาหารหลักที่ต้นเสน่ห์ขุนแผนต้องการ

ปลูกโดยใช้ดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์และระบายน้ำได้ดีเป็นดินปลูก เมื่อลงปลูกควรกลบดินให้มิดหน่อที่แยกมาปลูกหรือกลบให้พอมีหัวโผล่ดินบ้าง ปลูกไว้ในที่แสงแดดรำไร รดน้ำสม่ำเสมอแต่อย่าให้น้ำขังแฉะ

ประโยชน์ของต้นเสน่ห์ขุนแผน

ปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้มงคล เป็นว่านเสี่ยงทายของเจ้าของว่าน ถ้าว่านเจริญงอกงามดีย่อมหมายถึงว่าเจ้าของว่านเป็นผู้มีความเป็นอยู่เจริญดีมีความสุข และยังเป็นว่านเมตตามหานิยม บรรดานักเลงเจ้าชู้ทั้งหลายพยายามเสาะหาไว้เพราะเป็นว่านมหาเสน่ห์ชนิดหนึ่ง พ่อหม้าย แม่หม้าย หากมีไว้บูชาจักมีผู้เชยชมมิได้ขาด

สรรพคุณทางยาของต้นเสน่ห์ขุนแผน

คุณค่าทางโภชนาการของต้นเสน่ห์ขุนแผน

การแปรรูปของต้นเสน่ห์ขุนแผน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11192&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment