ต้นเหมือดหอม ดอกมีกลิ่นหอม เนื้อไม้รสสุขุม ดับพิษร้อน แก้ไข้ ถอนพิษผิดสำแดง

เหมือดหอม

ชื่ออื่นๆ : เหมือดหอม (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) กฤษณา, ตะลุมนก, หว้า (ราชบุรี) เหมียดหล้า, เหมือดเหล้า (ชัยภูมิ) เหมือด (ปราจีนบุรี) เหมือดดอก, เหมือดไร่ (ภาคเหนือ) เหมือดน้อย, เหมือดส้ม (ส่วย-ศรีสะเกษ) เหมือดน้อย, เหมือดหอม (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เหมือดโลด (นครราชสีมา)

ต้นกำเนิด : –

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Symplocos racemosa Roxb.

ชื่อวงศ์ : SYMPLOCACEAE

ลักษณะของเหมือดหอม

ต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 12 เมตร ลำต้นมีสีขาว เนื้อไม้มีรัศมีชัดเจนยาวถึงริม

ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปหอกหรือรูปรี ปลายและโคนใบแหลม กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 10-15 เซนติเมตร

ดอก ดอกช่อแบบช่อกระจะ ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว ดอกมีกลิ่นหอม

ผล ผลแบบเบอร์รี่ คล้ายลูกหว้า ผลสด รูปทรงรี เมื่อสุกมีสีน้ำเงิน แกมม่วง มีเมล็ดเดียว

ต้นเหมือดหอม
ต้นเหมือดหอม ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลำต้นมีสีขาว
ใบเหมือดหอม
ใบเหมือดหอม ใบรูปหอกหรือรูปรี ปลายและโคนใบแหลม

การขยายพันธุ์ของเหมือดหอม

ใช้เมล็ด/เพาะจากเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่เหมือดหอมต้องการ

ประโยชน์ของเหมือดหอม

สรรพคุณทางยาของเหมือดหอม

  • เนื้อไม้ รสสุขุม ดับพิษร้อน แก้ไข้ ถอนพิษผิดสำแดง
  • ราก แก้พิษ ถอนพิษ ถอนพิษผิดสำแดง แก้ไข้กลับไข้ซ้ำ ไข้พิษ ไข้หวัด ไข้หัด ไข้ปอดบวม ฝนกับน้ำหรือต้มดื่ม ถอนพิษยาเบื่อเมา แก้เมา
  • แก่น ฝนน้ำกิน แก้ไข้อีสุกอีไส ไข้เปลี่ยนฤดู
ดอกเหมือดหอม
ดอกเหมือดหอม ดอกสีขาว มีกลิ่นหอม
ผลเหมือดหอม
ผลเหมือดหอม ผลดิบสีเขียว รูปทรงรี

คุณค่าทางโภชนาการของเหมือดหอม

การแปรรูปของเหมือดหอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10219&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment