เหลืองอินเดีย
ชื่ออื่นๆ : เหลืองอินเดีย
ต้นกำเนิด : เวสต์อินดีส โคลัมเบีย ถึงตอนเหนือของเวเนซูเอลาในทวีบอเมริกาใต้
ชื่อสามัญ : Golden Tree , Tallow Pui
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Handroanthus chrysanthus (Jacq.) S.O. Grose
ชื่อวงศ์ : Bignoniaceae
ลักษณะของต้นเหลืองอินเดีย
ต้น ไม้ต้นขนาดกลางสูง 5-9 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดทึบ เรือนยอดรูปทรงไม่แน่นอน เปลือกสีน้ำตาลเทา เมื่อโตเปลือกจะแตกเป็นร่องหรือเป็นสะเก็ด กิ่งก้านมีขนหรือเกือบไม่มี

ใบ ใบประกอบแบบนิ้วมือซึ่งประกอบด้วยใบย่อย 5 ใบ ใบเรียงตรงข้าม ใบย่อย 5 ใบ ก้านใบรวมยาว 5-16 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่ม ก้านใบย่อยยาว 1-3 เซนติเมตร มีขน ใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน หรือรูปขอบขนาน กว้าง 1.5-11 เซนติเมตร ยาว 2.5-18 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลมเป็นติ่ง โคนใบมนหรือเป็นรูปไต ขอบใบเรียบหรือจักเป็นซี่ ผิวใบด้านล่างมีขนนุ่ม

ดอก สีเหลืองสดติดกันเป็นหลอดรูปแตร ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแยกแขนงที่ปลายกิ่ง 3-10 ดอก กลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วย สีน้ำตาล โคนก้านมีขน กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 กลีบคล้ายแตร กลีบดอกบางยับย่น ดอกบาน เต็มที่กว้าง 3-4 เซนติเมตร เหลืองอินเดียออกดอกเดือนมีนาคม-เมษายน

ผล ผลแห้งแตก เป็นฝักโค้ง ยาว 11-50 เซนติเมตร เมล็ดจำนวนมาก มีปีกเป็นเยื่อบางๆใส

การขยายพันธุ์ของเหลืองอินเดีย
การเพาะเมล็ด, การตอนกิ่ง, การปักชำ
ขึ้นได้ดีในภาคเหนือของประเทศไทย
ธาตุอาหารหลักที่เหลืองอินเดียต้องการ
ประโยชน์ของเหลืองอินเดีย
- ดอกมีสีเหลืองสวยงาม เหมาะสำหรับปลูกเป็นไม้ประดับ ตามสวน ตามบ้าน หรือริมถนน ดอกดกสีสวย แต่จะบานเพียง 2-3 วัน
- ประโยชน์ต่อนก เป็นที่สร้างรัง ดอกให้น้ำหวานและช่วยดึงดูดแมลง
สรรพคุณทางยาของเหลืองอินเดีย
คุณค่าทางโภชนาการของเหลืองอินเดีย
การแปรรูปของเหลืองอินเดีย
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.forest.go.th, www.wattano.ac.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย : เกษตรตำบล.คอม
เหมาะสำหรับปลูกเป็นไม้ ประดับ ตามสวน ตามบ้าน หรือริมถนน
เหลืองอินเดีย ดอกดกสีสวย