ถอบแถบ หญ้าถบถาบ (ลำปาง) เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ สำหรับแทะเล็ม

ถอบแถบ หญ้าถบถาบ (ลำปาง)

ชื่ออื่นๆ : ถอบแถบ, หญ้าถบถาบ (ลำปาง)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllodium kurzianum (Kuntze) Ohashi. Ohashi

ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE – PAPILIONOIDEAE

ลักษณะของถอบแถบ หญ้าถบถาบ (ลำปาง)

เป็นไม้พุ่ม (shrub) ขนาดเล็ก ปลายยอดตั้ง ต้นสูง 180.45-228.55 เซนติเมตร ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 14.8-24.64 มิลลิเมตร ลำต้นสีเขียวมีขนละเอียดสีน้ำตาลอมเหลืองคลุมจำนวนมาก ใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ มี 3 ใบย่อยและมีก้านใบ (pinnately-trifoliate) ส่วนล่างบริเวณโคนต้นมีใบเดี่ยว (simple) ขึ้นปะปน รูปร่างใบย่อยรูปไข่แกมใบหอก (ovate-lanceolate) โคนใบกลม (rounded) ปลายใบสอบตรงปลายยอดเว้าบุ๋ม (retuse) ซึ่งแตกต่างกับใบต้นเกล็ดปลาช่อน (Phyllodium pulchellum) ที่ปลายใบมน (obtuse) และผิวใบมันหยาบ ใบหญ้าถบถาบใบกลางยาว 10.55-15.71 เซนติเมตร กว้าง 5.99-7.81 เซนติเมตร ใบข้างยาว 7.2-8.7 เซนติเมตร กว้าง 4.7-6 เซนติเมตร รูปใบข้างด้านล่างโค้งเบี้ยว เล็กน้อย และตรงปลายยอดใบมีติ่งสั้น ๆ ประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ก้านใบรวมยาวประมาณ 6 เซนติเมตร ก้านใบข้างสั้นมากยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ก้านใบและใบมีขนละเอียดสั้นสีน้ำตาล อมเหลืองปกคลุมจำนวนมาก (very-abundant) ผิวใบหนา นุ่มมาก เส้นกลางใบ (mid rib) เป็นสันนูนชัด มีขนคลุมจำนวนมาก เส้นใบเรียงตัวแบบร่างแห (reticulate) ขอบใบมีลักษณะเว้าเป็นคลื่น (sinuate) รอยหยักขอบใบแบบขนครุย (ciliate) มีสีน้ำตาลอมเหลือง หูใบ (stipule) สีน้ำตาล รูปหนาม (spinous) ค่อนข้างแข็งและมีขนคลุมซอกใบมีกิ่งใบเกิดซ้อน ช่วงออกดอกมีระยะสั้น ในเดือน กันยายน ช่อดอกออกตรงปลายยอดและตาข้างช่อดอกรวมยาว 13.94-30.6 เซนติเมตร กลุ่มดอกย่อยเกิดตรงซอกใบประดับ (bracteoles) ที่มีอยู่ 1 คู่ ใบประดับรูปไข่ยาวประมาณ 1.4 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร มีขนปกคลุม ปลายยอดมีติ่งเป็นเส้นสั้น ๆ กลุ่มดอกย่อยเรียงตัวแบบสลับมี 22-36 ดอกต่อกลุ่ม ดอกรูปดอกถั่วสีขาวนวลฝักรูปแบนคอดเป็นข้อ ๆ มีขนปกคลุมจำนวนมาก ฝักแก่ไม่แตก

หญ้าถบถาบ
หญ้าถบถาบ ไม้พุ่ม ลำต้นสีเขียวมีขนละเอียดสีน้ำตาลอมเหลืองคลุม
ใบหญ้าถบถาบ
ใบหญ้าถบถาบ ใบเดี่ยว ผิวใบมันหยาบ

การขยายพันธุ์ของถอบแถบ หญ้าถบถาบ (ลำปาง)

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ถอบแถบ หญ้าถบถาบ (ลำปาง)ต้องการ

ประโยชน์ของถอบแถบ หญ้าถบถาบ (ลำปาง)

เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ สำหรับแทะเล็มของโค-กระบือ

สรรพคุณทางยาของถอบแถบ หญ้าถบถาบ (ลำปาง)

คุณค่าทางโภชนาการของถอบแถบ หญ้าถบถาบ (ลำปาง)

การแปรรูปของถอบแถบ หญ้าถบถาบ (ลำปาง)

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12083&SystemType=BEDO
http://nutrition.dld.go.th

Add a Comment