ถั่วพุ่ม
ชื่ออื่นๆ : ถั่วพุ่ม
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : cowpea, southern pea
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vigna unguiculata ssp. unguiculata
ชื่อวงศ์ : Fabaceae
ลักษณะของถั่วพุ่ม
ต้น เป็นพุ่มเตี้ย ๆ กึ่งเลื้อย
ใบ สีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม
ดอก สีของกลีบดอกม่วงอ่อน ม่วงเข้ม ช่อดอกอยู่เหนือทรงพุ่ม
ฝักสด สีเขียวอ่อน รูปร่างฝักยาว ค่อนข้างแคบ สั้น กลม โค้งเล็กน้อย
เมล็ด รูปไต สีเปลือกหุ้มเมล็ดถั่วพุ่มมีหลายสี แต่เมล็ดสีดำเป็นที่ต้องการของตลาดมากที่สุด
เป็นพืชอาหารสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นพุ่มเตี้ย ๆ สามารถทนแล้งได้ดี มีฝักลักษณะคล้ายคลึงกับถั่วฝักยาว อาจปลูกในช่วงปลายฤดูฝนหรือก่อนฤดู
การขยายพันธุ์ถั่วพุ่ม
การขยายพันธุ์ สามารถปลูกได้ด้วยวิธีการหว่านเมล็ด โดยใช้เมล็ด 8-10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือวิธีการปลูกแบบหยอดหลุมก็ได้ โดยเว้นระยะห่างระหว่างหลุมราว 30×50 เซนติเมตร
ถั่วพุ่มมีดอกซึ่งมีอายุของดอกราว 45-50 วัน พันธุ์ส่วนใหญ่ที่นิยมนำมาปลูกคือพันธุ์พื้นเมือง ถั่วพุ่มถือเป็นพืชตระกูลถั่วอีกชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกกันมากในหลายพื้นที่ของประเทศไทย และที่สำคัญปลูกง่าย ให้ธาตุอาหารสูงการปลูก
ธาตุอาหารหลักถั่วพุ่มต้องการ
ประโยชน์ของถั่วพุ่ม
- ใช้บริโภคด้วยการนำมาปรุงอาหารก็ได้เช่นกัน ทั้งฝักสดและเมล็ดแห้ง
- ใช้เป็นอาหารสัตว์โดยเฉพาะสัตว์เคี้ยวเอื้อง
- สามารถใช้ถั่วพุ่มมาเสริมเป็นโปรตีนทดแทนในอาหารสัตว์ได้ เนื่องจากมีโปรตีนสูงถึง 25%
- นำไปทำปุ๋ยพืชสดด้วยการใช้วิธีการไถกลบเมื่อพืชมีอายุได้ 40 วัน ก็ได้
- เป็นพืชหมุนเวียน หลังการเก็บเกี่ยว เพื่อปรับปรุงดิน และบำรุงดิน
สรรพคุณทางยาของถั่วพุ่ม
คุณค่าทางโภชนาการของถั่วพุ่ม
การแปรรูปของถั่วพุ่ม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11718&SystemType=BEDO
https://www.youtube.com
3 Comments