ถั่วยักษ์
ชื่ออื่นๆ : ถั่วยักษ์, ถั่วฝักพร้า, ถั่วดาบ, ถั่วอีโต้
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : ถั่วพร้าเมล็ดแดง Jack Bean
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Canavalia gladiata (Jacq.) DC.
ชื่อวงศ์ : Fabaceae
ลักษณะของถั่วยักษ์
ต้น เป็นไม้เถาล้มลุก สามารถเลื้อยสูงได้ถึง 10 เมตร ลำต้นมีเนื้อไม้แข็งเป็นแกน โดยจะมีความสูงประมาณ 60 – 120 เซนติเมตร
ใบ ใบเป็นใบรวมแบบสามใบ ใบมน มีรูปร่างมนค่อนข้างกลมคล้ายไข่ ยาว 7 – 12 เซนติเมตร
ดอก ดอกเป็นกลุ่ม มีสีชมพู หรือแดงตามพันธุ์
ผล ฝักจะมีรูปร่างคล้ายดาบ ห้อยปลายลง เมื่อสุกจะมีสีเหลืองคล้ายฟางข้าว ถั่วพร้าเมล็ดยาวจะมีขนาดฝักกว้าง 3 – 3.5 เซนติเมตร ยาว 15 – 35 เซนติเมตร
เมล็ด เมล็ดมีสีขาวคล้ายงาช้าง มีขนาด 1.5 – 2 เซนติเมตร ขั้วเมล็ด (hilum) ยาว 0.5 – 1 เซนติเมตร ในขณะที่ถั่วพร้าเมล็ดแดงจะมีขนาดฝักกว้างประมาณ 3.5 – 5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 20 – 40 เซนติเมตร เมล็ดมีสีแดงอมน้ำตาล มีขนาด 2 – 3.5 เซนติเมตร ขั้วเมล็ดยาว 1.5 – 2 เซนติเมตร
ส่วนเมล็ดสีตามพันธุ์แดง หรือขาว
1.ถั่วพร้าเมล็ดยาว (jack bean) ชื่อวิทยาศาสตร์ Canavalia ensiformis (L.) DC.
2.ถั่วพร้าเมล็ดแดง (sword bean )ชื่อวิทยาศาสตร์ Canavalia gladiata (Jacq.) DC.
การขยายพันธุ์ของถั่วยักษ์
ใช้เมล็ด
ขึ้นง่ายในทุกสภาพของดิน ปัจจุบันทางราชการส่งเสริมให้มีการปลูกเพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสดที่หาตุอาหารพืชไนโตรเจนปริมาณสูง
ธาตุอาหารหลักที่ถั่วยักษ์ต้องการ
ประโยชน์ของถั่วยักษ์
- ปลูกเป็นอาหารสัตว์ หรือพืชคลุมดิน
- ถั่วพร้าเมล็ดยาวนั้นเมล็ดและฝักมีความเป็นพิษ ไม่นิยมนำมาบริโภค แต่ถ้าทำให้สุกโดยการคั่วแกะเปลือกทิ้งหรือต้มถ่ายน้ำหลายครั้งก็บริโภคได้
- ถั่วพร้าเมล็ดแดง ฝักอ่อนและเมล็ดอ่อนสามารถนำมาทำเป็นอาหารได้ โดยต้มให้สุกทานกับน้ำพริก ส้มตำ ได้ ส่วนเมล็ดแก่นำไปคั่วเพื่อบริโภคแทนกาแฟได้ ในฝักและเมล็ดถั่วพร้ามีโปรตีนชนิดหนึ่งชื่อคานาวาลิน เป็นสารพิษครับ แต่มีปริมาณไม่เยอะถ้าทำให้สุกโดยการต้มหรือคั่วก็ไม่เป็นอันตราย
- ปลูกทำปุ๋ยพืชสดทำได้ด้วยการหว่านเมล็ดพรวนดินกลบ หรือด้วยการขุดร่องโรยเมล็ดกลบ หรืออีกวิธี ขุดหลุมหยอดเป็นจุดกลบ
- ถั่วพร้าสามารถปลูกตัดแต่งให้เป็นพุ่มโชว์ดอก โชว์ฝัก ประดับได้
- ใบสามารถนำมาทำปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารแก่ต้นไม้อื่นได้อย่างดี
สรรพคุณทางยาของถั่วยักษ์ ถั่วฝักพร้า ถั่วดาบ ถั่วอีโต้
–
คุณค่าทางโภชนาการของถั่วยักษ์ ถั่วฝักพร้า ถั่วดาบ ถั่วอีโต้
การแปรรูปของถั่วยักษ์ ถั่วฝักพร้า ถั่วดาบ ถั่วอีโต้
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12244&SystemType=BEDO
https://th.wikipedia.org
https://www.flickr.com