ถั่วลิสงนา
ชื่ออื่นๆ : ถั่วลิสงนา, หญ้าปล้องหวาย (ชลบุรี) คัดแซก (ปราจีนบุรี) หญ้าเกล็ดหอยใหญ่
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : alyce clover
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alysicarpus vaginalis (Linn.) DC.
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE (PAPILIONIODEAE)
ลักษณะของถั่วลิสงนา
ต้น พืชล้มลุกเลื้อยคลุมดินยาว 30 – 100 เซนติเมตร กิ่งเล็กๆ มีขนสั้นๆ ปกคลุม เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 1-2 มิลลิเมตร
ใบ ใบกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 1 – 2 เซนติเมตร ก้านใบยาว 0.6 – 0.9 เซนติเมตร นักพฤกษศาสตร์บางท่านแยกกลุ่มนี้ออกเป็น A. vaginalis var. nummularifolius ทั้งสองกลุ่มมีใบแบบใบเดี่ยว ใบมีรูปร่างต่างกัน เช่น รูปกลม รูปไข่ รูปรี รูปขอบขนาน รูปขอบขนานแกมไข่ จนถึงรูปหอก หูใบเป็นแผ่นบางใส
ดอก ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกดอกตรงซอกใบหรือยอด กลีบดอกสีม่วง สีแดง สีแดงแกมชมพูถึงสีขาวแกมน้ำตาลหรือสีขาวแกมชมพูอมส้ม
ผล ฝักรูปทรง กระบอก มีรอยคอดและหักได้เป็นข้อๆข้อละ 1 เมล็ด ออกดอกและติดเมล็ดช่วง กันยายนถึงเดือนธันวาคม
การขยายพันธุ์ของถั่วลิสงนา
ใช้เมล็ด/ต้นใหม่จะแตกออกจากต้นเดิม หรือไหล
ธาตุอาหารหลักที่ถั่วลิสงนาต้องการ
ประโยชน์ของถั่วลิสงนา
- สำหรับเลี้ยงสัตว์ โค กระบือ ม้า หรือปล่อยสัตว์แทะเล็ม
- ใช้เป็นพืชคลุมดิน
สรรพคุณทางยาของถั่วลิสงนา
ใช้รากต้มคั้นเอาน้ำ แก้อาการจุกเสียด
คุณค่าทางโภชนาการของถั่วลิสงนา
การแปรรูปของถั่วลิสงนา
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10591&SystemType=BEDO
https://www.youtube.com