ถั่วลิสง พืชที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร

ถั่วลิสง

ชื่ออื่นๆ : ถั่วดิน (ภาคเหนือและอีสาน) ถั่วคุด (ประจวบคีรีขันธ์และเพชรบุรี)

ต้นกำเนิด : ทวีปอเมริกาเขตร้อน

ชื่อสามัญ : Peanut, Groundnut, Monkeynut, Arachis

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Arachis hypogaea l.

ชื่อวงศ์ : Legume- minosae

ลักษณะของถั่วลิสง

ต้นถั่วลิสงนั้นจัดเป็นพืชล้มลุก โดยมีลำต้นสูงประมาณ 15 – 70 เซนติเมตร ซึ่งโดยทั่วไปลำต้นของถั่วลิสงจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ ลำต้นเป็นพุ่มตรงแตกกิ่งก้านเยอะ มีฝักกระจุกบริเวณโคน และแบบลำต้นพุ่มเตี้ยเลื้อยหรือกึ่งเลื้อย มีฝักกระจายอยู่บริเวณข้อ โดยส่วนต่างๆ ของลำต้นมักมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ เว้นแต่กลีบดอกที่ไม่มีขน และมีรากแก้วและรากแขนงสีน้ำตาลเป็นปม ส่วนใบของถั่วลิสงออกแบบเรียงสลับกันตามข้อ เป็นใบประกอบแบบขนนกรูปทรงไข่กลับ และมีดอกออกเป็นช่อๆ ตามมุมใบของกิ่งหรือลำต้นและโคนต้น โดยใน 1 ช่อจะมีดอกย่อยสีเหลืองอยู่ประมาณ 3 ดอกขึ้นไป และเวลาบานจะไม่บานพร้อมกัน สำหรับฝักนั้นจะมีสีขาวหรือน้ำตาลอ่อนอยู่ใต้ดินเป็นกระจุก โดยเปลือกจะแข็งและค่อนข้างเปราะ และในฝักหนึ่งๆ จะมีเมล็ดอยู่ 1 – 6 เมล็ด เป็นเมล็ดถั่วลิสงที่มีเยื่อหุ้มอยู่

ต้นถั่วลิสง
ลำต้นเป็นพุ่มตรง มีฝักบริเวณโคน

การขยายพันธุ์ของถั่วลิสง

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ถั่วลิสงต้องการ

ประโยชน์ของถั่วลิสง

สำหรับถั่วลิสงนั้นนับเป็นพืชที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารเป็นอย่างมาก และมีผู้ที่นิยมรับประทานถั่วลิสงกันเป็นจำนวนมาก ทำให้ไม่เพียงพอแก่ความต้องการของผู้คนในประเทศ ทำให้ปัจจุบันต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศ

ถั่วลิสง
ฝักนั้นจะมีสีน้้ำตาลอ่อนอยู่ใต้ดินเป็นกระจุก เปลือกจะแข็งและค่อนข้างเปราะ

สรรพคุณทางยาของถั่วลิสง

เมล็ด – ช่วยในการบำรุงไขมัน ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย รวมทั้งบำรุงร่างกาย และบำรุงเส้นเอ็น บำรุงน้ำนม บำรุงไขข้อต่างๆ ตลอดจนช่วยแก้อาการปลายเท้าเป็นเหน็บชา ให้รสมันหวาน
น้ำมันจากเมล็ด – ช่วยระบายท้อง และช่วยหล่อลื่นในลำไส้ ให้รสมัน
ใบ – ช่วยอาการความดันโลหิตสูง หรือใช้ตำแล้วนำมาพอกแผลฟกช้ำ และแผลที่มีหนองเรื้อรัง ให้รสมัน

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วลิสง

การแปรรูปของถั่วลิสง

ถั่วลิสงที่นำเปลือกออกแล้ว สามารถนำมาเป็นส่วนประกอบในการทำอาหาร เช่น ใส่ในส้มตำ ยำแหนม ยำถั่วพลู เป็นส่วนผสมในการทำน้ำจิ้ม หรือนำมาทำถั่วตัด  ถั่วลิสงเคลือบน้ำตาล เป็นต้น เมล็ดถั่วลิสงอาจนำไปทำเนยที่เรียก Peanut Butter หรือสกัด น้ำมันไปทำเนยเทียมก็ได้

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10063&SystemType=BEDO
https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1512&code_db=610010&code_type=01
https://www.flickr.com

8 Comments

Add a Comment