ถั่วหวาน
ชื่ออื่นๆ :
ต้นกำเนิด : เอธิโอเปีย
ชื่อสามัญ : ถั่วหวาน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pisum sativum
ชื่อวงศ์ : Leguminosae
ลักษณะของถั่วหวาน
ถั่วหวาน เป็นถั่วลันเตา ชนิดรับประทาน เมล็ด มีชื่อ วิทยาศาสตร์ว่าอยู่ใน ตระกูลถั่ว (Leguminosae) ซึ่ง โดยปกติ ถั่วลันเตา ชนิดรับประทาน เมล็ดจะมีฝัก เหนียวและแข็ง เมล็ดโต แต่ได้รับ การปรับปรุงพันธุ์ สำหรับการ รับประทานฝักสด มีเนื้อฝักหนา รสหวาน กรอบ

การขยายพันธุ์ของถั่วหวาน
ใช้เมล็ด/ขุดดินและใส่ปูนขาวตามคำแนะนำจากการวิเคราะห์ ดิน อัตรา 0-100 กรัม/ตร.ม. ทิ้งไว้ 10 วัน ก่อนปลูกคลุกปุ๋ย 0-4-0 อัตรา 40 กรัม/ตร.ม. กับ 12-24-12 อัตรา 25-30 กรัม/ตร.ม. ลงในดินแปลงกว้าง 1 ม.(แถวคู่) การปลูก ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 1 กก./ตร.ม. รองพื้นก่อนปลูกและโรยตามร่องแถวปลูก พรวนดิน และหยอดเมล็ดโดยขีดร่องยาวตามแปลง ลึก 2 ซม. หยอดเมล็ด 1 เมล็ด ห่างกัน 6 ซม. แถวห่าง 50 ซม. (ปลูกแถวคู่) กลบดินแล้วรดน้ำ ราดแปลงด้วยเซฟวิน-85 บนแปลงป้องกันมดกินหรือขนย้ายเมล็ดข้อควรระวัง หยอดเมล็ดลึกจะทำให้เน่าควรคลุกเคล้าเมล็ดด้วยไตรโครเดอร์มา หรือเอพรอน 35การทำค้าง เมื่อปลูกได้ 10 วัน โดยปักไม้ค้างสูง 2 ม. ระยะห่าง 1 ม. ผูกเชือกช่วงละ 20 ซม. ของค้าง การให้น้ำ ให้น้ำทุก 2-3 วัน โดยเฉพาะช่วงออกดอก หากขาดน้ำจะไม่ติดฝักunderlineการใส่ปุ๋ยพืชอายุ 20 วัน ให้ปุ๋ย 46-0-0 อัตรา 30 กรัม/ตร.ม.พืชอายุ 30 วัน ให้ปุ๋ย 13-13-21 อัตรา 30 กรัม/ตร.ม. กลบดินบางๆ แล้วรดน้ำตาม ควรกำจัดวัชพืชพร้อมการให้ปุ๋ยการเก็บเกี่ยว เริ่มเก็บผลผลิต เมื่อมีอายุได้ประมาณ 45-70 วัน เก็บ 3 วัน/ครั้ง เป็นเวลา 15-25 วัน(ถ้าดูแลรักษาดี) ปลิดให้มีขั้วติดฝัก ไม่ควรล้างน้ำ คัดฝักเสียทิ้งและผึ่งให้แห้ง 1 คืน ก่อนบรรจุลงในตะกร้าพลาสติก
ธาตุอาหารหลักที่ถั่วหวานต้องการ
ประโยชน์ของถั่วหวาน
ถั่วหวาน มีคุณค่าทางอาหารเหมือนถั่วลันเตาโดยทั่วไป คือ มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสมาก เหมาะอย่างยิ่งต่อการบำรุงกระดูกและฟัน ฟากฝักแก่สามารถนำเมล็ดมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ลวกและโรยบนสลัด ผัดผักรวม ใส่ไข่ยัดไส้ ข้าวผัด เป็นต้น สำหรับฝักสดสามารถนำมาลวกรับประทานกันสเต๊ก หรือผัดไฟแรงอย่างรวดเร็ว จะมีรสหวานและกรอบ

สรรพคุณทางยาของถั่วหวาน
สภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของถั่วหวานunderline ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกถั่วลันเตา ควรมีลักษณะร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี มีความอุดมสมบูรณ์สูง หน้าดินลึก และควรมี pH อยู่ระหว่าง 5.5-6.5อุณหภูมิ ที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 13-18 หากอุณหภูมิต่ำกว่า หรือสูงกว่า จะทำให้การเจริญเติบโตชะงัก และในกรณีที่อุณหภูมิสูงกว่า ดอกและฝักร่วง ไม่ควรปลูก ในสภาพอากาศเย็นมีน้ำค้างแข็ง โดยเฉพาะในระยะที่ดอกบานและเริ่มติดฝัก และควรได้รับแสงตลอดทั้งวัน
คุณค่าทางโภชนาการของถั่วหวาน
การแปรรูปของถั่วหวาน
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12070&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com