ทองพันชั่ง ใช้รักษาโรคผิวหนัง (ชนิดกลาก เกลื้อน)

ทองพันชั่ง

ชื่ออื่นๆ : ทองคันชั่ง, หญ้ามันไก่

ต้นกำเนิด : ประเทศอินเดีย มาเลเซีย และมาดากัสการ์

ชื่อสามัญ : ทองพันชั่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhinacanthus nasutus Kurz

ชื่อวงศ์ : Acanthaceae

ลักษณะของทองพันชั่ง

ต้น เป็นไม้ล้มลุก มีพุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 0.5-2 เมตร กิ่งอ่อนและลำต้นมักเป็นเหลี่ยม ส่วนที่ยังอ่อนมักมีขนปกคลุม

ใบ ใบรูปคล้ายรูปไข่หรือวงรี กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. ก้านใบยาว 0.5-1 ซม.

ดอก ดอกออกเป็นช่อตามซอกกิ่งยาวประมาณ 10 ซม. แต่ละดอกมีสีขาว ผลใหญ่ประมาณ 1 ซม.

ผล ผลเป็นผลแห้งแตกได้ มักมีขน

ต้นทองพันชั่ง
ต้นทองพันชั่ง ใบรูปรี กิ่งอ่อนและลำต้นมักเป็นเหลี่ยม

การขยายพันธุ์ของทองพันชั่ง

การปักชำ

ตัดกิ่งแก่ที่มีตาติดอยู่ 2-3 ข้อ ปลิดใบทิ้งแล้วนำไปปักชำในดินที่ชุ่มชื้นให้กิ่งเอียงเล็กน้อยขึ้นได้ในดินทั่วไป

ธาตุอาหารหลักที่ทองพันชั่งต้องการ

ประโยชน์ของทองพันชั่ง

ทองพันชั่งใช้รักษาโรคผิวหนัง (ชนิดกลาก เกลื้อน) ทาแก้กลากเกลื้อน การที่ทองพันชั่ง สามารถรักษากลากเกลื้อนได้ เพราะน้ำยาที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์จะมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคกลาก เกลื้อนได้ ส่วนที่ใช้เป็นยา ได้แก่ ใบสด และรากสด

ดอกทองพันชั่ง
ดอกทองพันชั่ง ดอกสีขาว

สรรพคุณทางยาของทองพันชั่ง

  • ใบ รสเบื่อเมา ดับพิษไข้ รักษาโรคผิวหนัง แก้ริดสีดวงทวาร แก้ไอเป็นเลือด ฆ่าพยาธิกลากเกลื้อน แก้มะเร็ง
  • ราก รสเมาเบื่อ ต้มรับประทานแก้พิษไข้ แก้โรคมะเร็ง เรื้อน วัณโรค โรคผิวหนัง แก้ผมหงอกเนื่องจากเชื้อรา

คุณค่าทางโภชนาการของทองพันชั่ง

การแปรรูปของทองพันชั่ง

นำมาสกัดเป็นยา  แชมพู

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9304&SystemType=BEDO
www.th.wikipedia.org
www.flickr.com

Add a Comment