ทองหลางด่าง ไม้ยืนต้นผลัดใบ ผิวเปลือกลำต้นบางเป็นสีเทาหรือสีเหลืองอ่อน

ทองหลางด่าง

ชื่ออื่นๆ : ทองบ้าน ทองหลางใบมนด่าง ทองหลางลาย ทองเผือก ทองหลางดอกแดง

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Indian coral tree/ Tiger Claw/ Variegated coral tree/ Variegated tiger’s claw

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Erythrina orientalis (L) Murr. Var. picta

ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE

ลักษณะของทองหลางด่าง

ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบ มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ซึ่งมีความสูงประมาณ 18 เมตร ลักษณะบริเวณลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมโค้ง คม ปลายหนามเป็นสีม่วงคล้ำ ผิวเปลือกลำต้นบาง เป็นสีเทา หรือสีเหลืองอ่อน ๆ
ใบ : ใบออกเป็นช่อ หรือใบรวม มีประมาณ 3 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปมน ปลายใบ แหลมยาวคล้ายใบใบโพธิ์ ใบที่อยู่ยอดจะมีขนาดใหญ่กว่าใบย่อยคู่ล่าง ขนาดของใบกว้างประมาณ 2-4 นิ้ว ยาวประมาณ 2-5.5 นิ้ว หลังใบมีเป็นสีด่างเหลือง ๆ เขียว ๆ พื้นผิวเรียบ เป็นมัน ใต้ท้องใบเป็นสีขาว หรือสีหม่น ก้านช่อใบยาวประมาณ 3-4 นิ้ว
ดอก : ดอกออกเป็นช่อติดกันเป็นกลุ่ม มีสีแดงสด ออกตามบริเวณข้อต้น หรือโคนก้านใบ ช่อหนึ่งยาวประมาณ 4-9 นิ้ว ลักษณะของดอกมีกลีบกว้างประมาณ 1-1.4 นิ้ว ยาวประมาณ 2-25 นิ้ว ดอกคล้ายกับดอกถั่ว ดอกมักจะออกในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์
ผล : ผลมีลักษณะเป็นฝัก แบน โคนฝักเล็กลีบ ส่วนที่คอนไปทางปลายฝักจะบวม ซึ่งจะเห็นเป็นสัณฐานของเมล็ดได้ชัดมาก พอฝักแก่เต็มที่ปลายฝักก็จะแตกอ้าออก ภายในฝักมีเมล็ดเป็นเหลี่ยม

ทองหลางด่าง
ทองหลางด่าง หลังใบด่างสีเหลือง เขียว ดอกสีแสดแดง

การขยายพันธุ์ของทองหลางด่าง

ใช้กิ่ง/ลำต้น/การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่ปลูกขึ้นง่าย ปลูกได้ดีในดินทุกชนิด ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่ทองหลางด่างต้องการ

ประโยชน์ของทองหลางด่าง

ส่วนที่ใช้ : เปลือกลำต้น ใบ ดอก เมล็ด เปลือกราก

สรรพคุณทางสมุนไพร
เปลือกลำต้น : ใช้เปลือกลำต้นสด นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้โรคตับ แก้ไข้ แก้ปวด บวมตามข้อ และแก้ปวดได้ทุกชนิด หรือนำมาบดให้เป็นผงละเอียดแล้วใช้น้ำผสมเล็ก น้อยแล้วนำมาอุดฟัน แก้ปวดฟัน เป็นต้น
ใบ : ใช้ใบสดนำมาต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้ไข้ แก้โรคบิด แก้ปวดเมื่อยตามไขข้อ แก้ปวดท้องเป็นยาขับพยาธิแก้ปวดท้อง ปวดฟัน แก้อาเจียน เป็นยาขับประจำเดือน กระต้นให้อยากอาหาร และยาใช้เป็นยานอนหลับได้ดี เป็นต้น
ดอก : ใช้ดอกสด นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาขับระดู
เมล็ด : นำเมล็ดมาตำให้ละเอียดเป็นผง หรือนำมาต้มน้ำกิน เป็นยาแก้พิษงู เป็นยาขับ ระดู รักษามะเร็ง และฝี เป็นต้น<เปลือกราก : นำมาต้มเอาน้ำกิน เป็นยากระตุ้นหัวใจ กระตุ้นไขสันหลัง และทำให้ความดันโลหิตในเส้นโลหิตแดงเพิ่มขึ้น และรักษาอาการไอเกร็งเนื่องจากโรคหอบหืดหรือขั้วปอดอักเสบ เป็นต้น

สรรพคุณทางยาของทองหลางด่าง

ส่วนประกอบทางยา :
เมล็ด มี alkaloid เป็นส่วนประกอบอยู่ 2 ชนิด คือ erythraline และ hypophorine ซึ่งพบ ว่า alkaloid ทั้ง 2 ตัวนี้ ให้ผลเหมือนสาร; (curare-like-action) คือทำให้เกิดอัมพาต (paralysis) ของกล้ามเนื้อลาย และของระบบหายใจได้ดี โดยมีการทดลองให้ hypaphorine ในกบ พบว่าในปริมาณน้อยไม่ทำให้เกิด อัมพาต (paralysis) แต่กลับมีผลทำให้เกิดการไวต่อสิ่งกระตุ้นมากขึ้น (hyperexcitability) แต่ในปริมาณสูง ๆ พบว่าจะให้ผล paralysis ได้มาก ส่วน erythraline เป็น alkaloid มีให้ผล paralysis ได้มาก
ใบและราก มี alkaloid ที่เป็นพิษ 2 ชนิด คือ erythrinine และ erythrine ซึ่งมีฤทธิ์กด
ระบบประสาทส่วนกลาง (CNS depressant) ทำให้นอนหลับ และเกิดจากการมึนเมา (narcotic) ได้
ใบ ราก กิ่ง และผล มี hydrocyanic acid
เปลือก พบว่ามีส่วนประกอบของ resins, fixed oils, fatty acid, hypaphorine, bataine, Choline, Potassium chloide, Potassium Carbonate

ตำรับยา :
1. แก้ปวดฟัน ใช้เปลือก ล้างน้ำให้สะอาด บดให้เป็นผงละเอียด แล้วใช้อุดบริเวณฟัน ที่ปวด
2. แก้ปวดข้อ ปวดกระดูก ใช้เปลือกสด ๆ หนักประมาณ 20-40 กรัม ต้มน้ำดื่มกิน
3. แก้ไข้ ใช้ใบสด 20-40 กรัม หรือใบแห้ง ประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มน้ำกิน
4.ขับเสมหะ ใช้ใบสด และรากสด ในปริมาณอย่างละ 30 กรัม ใส่น้ำตาลทราย ประมาณ 15 กรัม ต้มน้ำกินวันละ 2 ครั้ง
5. ผิวหนังเป็นน้ำเหลือง เป็นฝี ให้ใช้ใบสดนำมาคั้นเอาน้ำล้างแผล

คุณค่าทางโภชนาการของทองหลางด่าง

การแปรรูปของทองหลางด่าง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11249&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment