ทองหลางลาย ปลูกเป็นไม้ประดับ ใบสดรับประทานได้

ทองหลางลาย

ชื่ออื่นๆ : ปาริชาติ, ปาริฉัตร, ทองบ้าน, ทางเผือก (ภาคเหนือ), ทองหลางด่าง (กรุงเทพ)

ต้นกำเนิด : เขตเอเชียเขตอบอุ่น และเขตร้อน เช่น อินเดีย

ชื่อสามัญ : Indian Coral Tree, Variegated Coral Tree, Variegat

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Erythrina variegata Linn.

ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE

ลักษณะของทองหลางลาย

ต้น เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 5–10 เมตร กิ่งอ่อนมีหนามเรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง

ใบ เป็นใบประกอบแบบรูปขนนก มี 3 ใบย่อย ใบกลางจะโตกว่า 2 ใบข้าง เส้นกลางใบและเส้นแขนงใบสีเหลือง

ดอก ออกดอกเป็นช่อยาวประมาณ 30–40 ซ.ม. รูปดอกถั่ว สีแดงเข้ม สีแสดแดงหรือสีขาว ออกดอกระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์

ผล ผลเป็นฝักยาว 15 – 30 เซนติเมตร

ต้นทองหลางลาย
ต้นทองหลางลาย กิ่งอ่อนมีหนามเรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง
ใบทองหลางลาย
ใบทองหลางลาย ใบสีเขียว เส้นกลางใบและเส้นแขนงใบสีเหลือง

การขยายพันธุ์ของทองหลางลาย

ใช้กิ่ง/ลำต้น/ใช้เมล็ดเพาะ/ปักชำ

ธาตุอาหารหลักที่ทองหลางลายต้องการ

ประโยชน์ของทองหลางลาย

  • ปลูกเป็นไม้ประดับ ใบสดรับประทานได้ แต่ไม่นิยมเท่าใบทองหลางใบมน
  • ต้นทองหลาง” คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นทองหลางไว้ จะทำให้มีทองมาก มีความร่ำรวย เพราะทองหลางเป็นไม้มงคลนาม คือมีทองมากมายหลากหลาย หากนำใบทองหลางไปใช้เป็นเครื่องประกอบในพิธีสำคัญทางศาสนา จะทำให้เกิดสิริมงคลยิ่งขึ้น เช่น พิธีปลูกบ้าน พิธีแต่งงาน เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ยังมีความเชื่ออีกว่า ต้นทองหลางเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่ปลูกบนสวรรค์ในสมัยพุทธกาล จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ต้นประวาลพฤกษ์ หรือ ต้นปาริชาต เพื่อความเป็นสิริมงคล ควรปลูกต้นทองหลางไว้ทาง ทิศเหนือ ผู้ปลูกควรเป็นผู้ที่เกิดใน ปีมะแม เพราะต้นทองหลางเป็นต้นไม้ประจำปีมะแม ถ้าหากผู้อาศัยในบ้านเกิดปีมะแมด้วยแล้วก็จะเป็นมงคลมากยิ่งขึ้น
  • ต้นไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี เป็น พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ วันที่ 9 พฤษภาคม 2537
ดอกทองหลางลาย
ดอกทองหลางลาย ดอกสีแสดแดง ออกเป็นช่อยาว

สรรพคุณทางยาของทองหลางลาย

  • เปลือกราก กระตุ้นหัวใจ
  • เปลือกต้น ลดไข้ แก้ปวดข้อ แก้ปวดฟัน
  • ใบ แก้ปวดฟัน แก้ปวดท้อง แก้อาเจียน ช่วยเจริญอาหาร
  • ดอก ขับระดู
  • เมล็ด ขับระดู แก้ฝี
  • จีนใช้เปลือกต้น  เป็นยาแก้ไอและแก้ไข้
  • โมรอคโค ใช้เปลือกต้นเคี้ยวรักษาบิด

คุณค่าทางโภชนาการของทองหลางลาย

การแปรรูปของทองหลางลาย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11170&SystemType=BEDO
www.forest.go.th
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment