ทองหลางใบมน พืชมีพิษ ถ้ารับประทานเมล็ดเข้าไป ทำให้คลุ้มคลั่ง คล้ายวิกลจริต

ทองหลางใบมน

ชื่ออื่นๆ :  ทองหลางน้ำ, ทองโหลง(ภาคกลาง) ทองหลางบ้าน (กรุงเทพฯ)

ต้นกำเนิด : เอเชียเขตร้อนและเขตอบอุ่น

ชื่อสามัญ : Chekring, Coral Bean, Purple Coral-Tree, Swamp

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Erythrina suberosa Roxb.

ชื่อวงศ์ : Leguminosae

ลักษณะของทองหลางใบมน

ต้น ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ ทรงพุ่มกลมหรือรูปไข่ หนาทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา แตกเป็นร่องตื้นๆ ตามแนวยาว สีน้ำตาลอ่อน ลำต้นเล็กและกิ่งมีหนามสั้นสีดำ

ใบ ใบประกอบมีใบย่อยสามใบ เรียงเวียนสลับ แกนกลางใบ รูปไข่หรือรูปไข่แกมรูปขนมเปียกปูนปลายใบแหลม โคนใบมนเว้า ขอบใบเรียบ แผ่นใบบางและอ่อน สีเขียวเข้มเป็นมัน

ดอก สีแสดมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะขนาดใหญ่ ที่ปลายกิ่ง ดอกรูปดอกถั่ว กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ขอบหยัก

ผล ผลแห้งแตก เป็นฝักหนา คอดเล็กน้อยระหว่างเมล็ด หรือเป็นข้อๆ ต่อกัน เมื่อสุกสีน้ำตาลเข้ม หรือเทาอมดำ เมล็ดรูปไต

ต้นทองหลางใบมน
ต้นทองหลางใบมน เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา แตกเป็นร่องตื้นตามแนวยาว
ใบทองหลางใบมน
ใบทองหลางใบมน ใบรูปไข่ โคนใบมนเว้า ขอบใบเรียบ

การขยายพันธุ์ของทองหลางใบมน

การใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ทองหลางใบมนต้องการ

ประโยชน์ของทองหลางใบมน

ส่วนที่บริโภคได้ : ยอดอ่อนและใบอ่อน รับประทานเป็นผักสดแกล้มกับตำมะม่วง

สรรพคุณทางยาของทองหลางใบมน

  • ใบ ต้มน้ำดื่มแก้ไข้ดับพิษ ขับพยาธิไส้เดือน ตำพอกแก้ปวด
  • ดอก ขับโลหิตระดู
  • เปลือกต้น แก้เสมหะ ขับนิ่ว แก้ดีพิการ
  • แก่น แก้ฝีในท้อง
  • ราก แก้ดับพิษทั้งปวง แก้ไข้

ส่วนที่เป็นพิษ : เมล็ด สารพิษ : agglutinin, butyric acid, g-amino, erysodine, erysopine, erythraline, erythratidine, erythratine, d-acetyl-ornithine

การเกิดพิษ : ถ้ารับประทานเมล็ดเข้าไป ทำให้คลุ้มคลั่ง คล้ายวิกลจริต

ดอกทองหลางใบมน
ดอกทองหลางใบมน ดอกสีแสด

คุณค่าทางโภชนาการของทองหลางใบมน

การแปรรูปของทองหลางใบมน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9220&SystemType=BEDO
http://hort.ezathai.org/?p=332
http://area-based.lpru.ac.th/veg/www/Native_veg/v143.htm
http://www.rspg.or.th/plants_data/use/toxic_44.htm
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment