ทองอุไร ดอกสีเหลือง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้มงคล

ทองอุไร

ชื่ออื่นๆ : ดอกละคร (เชียงใหม่) พวงอุไร(กทม.) สร้อยทอง (กทม.,กลาง)

ต้นกำเนิด : อเมริกาเขตร้อน

ชื่อสามัญ : Yellow bell/ Yellow elder/ Trumpet vine

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tecoma stans (L.) Kunth

ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE

ลักษณะของทองอุไร

ต้น ไม้พุ่ม สูง 2-5 เมตร ไม่ผลัดใบ บางครั้งมีลักษณะเป็นพุ่มเรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อน

ต้นทองอุไร
ต้นทองอุไร พุ่มเรือนยอดทรงกลม เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อน

ใบ ประกอบแบบขนนก ปลายคี่ เรียงตรงข้ามกัน ใบย่อย 5-13 ใบ รูปใบหอกหรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 2-3 ซม. ยาว 3-8 ซม. ปลายใบแหลมโคนใบสอบ ใต้ใบมีขนละเอียด ขอบใบจักฟันเลื่อย

ใบทองอุไร
ใบทองอุไร รูปใบหอก ปลายแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อย

ดอก สีเหลือง ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะแยกแขนงที่ปลายกิ่ง กลีบดอกร่วงง่าย กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว 3-4 ซม. ปลายแยกเป็น 5 กลีบ คล้ายรูปแตร มีกลิ่นหอมอ่อน ออกดอกตลอดปี

ดอกทองอุไร
ดอกทองอุไร ดอกสีเหลือง คล้ายรูปแตร

ผล เป็นฝักเกือบกลม ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 12-14 ซม. เมื่อแก่จะแตกออก เมล็ดแบน สีน้ำตาลอ่อน

ผลทองอุไร
ผลทองอุไร เป็นฝักเกือบกลม สีเขียว

การขยายพันธุ์ของทองอุไร

การเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่ทองอุไรต้องการ

ประโยชน์ของทองอุไร

ทองอุไรดอกสีเหลืองสดใส ปลูกง่าย เกิดง่าย ในเขตร้อนทั่วไป ไม่ควรปลูกในที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง นิยมปลูกข้างถนน เกาะกลางถนน และเหมาะสำหรับปลูกมุมใดมุมหนึ่งของบ้านที่แดดถึง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้มงคล

สรรพคุณทางยาของทองอุไร

คุณค่าทางโภชนาการของทองอุไร

การแปรรูปของทองอุไร

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11884&SystemType=BEDO
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment