ทิ้งถ่อน
ชื่ออื่นๆ : ถ่อน (กลาง) ส่วน(เชียงใหม่) เชอะบ้อง (กาจนบุรี) ทิ้งถ่อน (กลาง)
ต้นกำเนิด : เขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของทวีปเอเชียและออสเตรเลีย
ชื่อสามัญ : White Siris
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Albiziaprocera Benth.
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
ลักษณะของทิ้งถ่อน
ต้น เป็นไม้ยืนต้นสูง 20 – 30 เมตร ลำต้นเปลาตรง พุ่มเรือนยอดเป็นสีแดง หรือน้ำตาลอมแดง เปลือกสีขาวแกมเขียว มีรอยด่างสีน้ำตาลกระจัดกระจายตามลำต้นทั่วไป
ใบ ช่อใบยาว 3 – 45 เซนติเมตร บนแกนช่อใบแขนงด้านข้างแต่ละช่อมีใบย่อยก้านใบย่อยสั้นมากใบย่อยเบี้ยวเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น
ดอก ดอกเล็กสีขาว ไม่มีก้านดอก รูปทรงกลมเป็นช่อก้าน ช่อดอกแต่ละช่อแตกแขนงมาจากช่อใหญ่ หรือรวมกลุ่มกันตามง่ามใบปลายกิ่ง กลีบรองและกลีบดอกติดกันคล้ายแตร
ผล ผลเป็นฝักแบนแห้งแตก รูปขอบขนาน ขนาด 2–2.5 × 10–15 เซนติเมตร เมื่อแก่มีสีน้ำตาล ภายในมี 6–12 เมล็ด เมล็ดนูนรูปไข่ ฝักจะแก่เดือนตุลาคม–ธันวาคม
การขยายพันธุ์ของถ่อนทิ้งถ่อน
ใช้ส่วนอื่นๆ/การเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง ขึ้นเป็นหมู่ พบทางภาคตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ของไทย ในต่างประเทศพบทางตอนใต้ของจีน พม่า กัมพูชาและลาว
ธาตุอาหารหลักที่ทิ้งถ่อนต้องการ
ประโยชน์ของทิ้งถ่อน
เนื้อไม้เหนียวแข็งแรงทนทาน ใช้ในการสร้างบ้านเรือน เครื่องเรือน และของใช้
เปลือก ใช้ย้อมผ้า
สรรพคุณทางยาของทิ้งถ่อน
เปลือก แก้หืดไอ แก้ท้องร่วงเจริญอาหาร แก้โรคผิวหนัง
ผล เป็นยาขับลม แก้ท้องอืด บำรุงธาตุ
ราก แก้เจ็บเอว แก้เจ็บหลัง แก้เส้นตึง
แก่น แก้ริดสีดวงทวารหนักบำรุงกำลังแก้ท้องอืดแก้เจ็บเอว
คุณค่าทางโภชนาการของทิ้งถ่อน
การแปรรูปของถ่อนทิ้งถ่อน
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10316&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com