ทุเรียนเทศ ผลคล้ายทุเรียนสีเขียวสด นิยมนำผลอ่อนมาทำแกงส้มและเชื่อม

ทุเรียนเทศ

ชื่ออื่นๆ : ทุเรียนเทศ หรือ ทุเรียนน้ำ (ภาคใต้) ทุเรียนแขก (ภาคกลาง) มะทุเรียน (ภาคเหนือ)

ต้นกำเนิด : อเมริกาเขตร้อน

ชื่อสามัญ : Sour Sop, Durian belanda, Guanabana

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Annona muricata

ชื่อวงศ์ : Annonaceae

ลักษณะของทุเรียนเทศ

ต้น ทุเรียนเทศเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านค่อนข้างมาก เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาลถึงดำ มีความสูง 4 – 5 เมตร

ใบ ใบเดี่ยว รูปไข่รี เรียวยาว  ปลายแหลม โคนเรียวลง ค่อนข้างหนา ขอบใบเรียบ ใบเรียงสลับกันไปในระนาบเดียวกับกิ่ง ผิวใบอ่อนเป็นมัน กว้าง 5 – 7 ซม. ยาว 11 – 16 ซม. ก้านใบยาว 1 – 1.5 ซม.  เมื่อฉีกใบจะได้กลิ่นเหม็นเขียว ฉุนจัด 

ดอก ดอกเดี่ยว มีสีเหลืองปนเขียวอ่อนออกดอกตามกิ่งก้าน  ดอกมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวส่งกลิ่นหอมตั้งแต่ช่วงบ่าย ดอกออกตลอดปี ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน

ผล ผลคล้ายทุเรียนสีเขียวสด  มีหนามนิ่มที่เปลือกผล ผลมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 – 20 เซนติเมตร ยาว 15 – 30 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 0.5 – 3.0 กิโลกรัม ภายในมีเนื้อคล้ายน้อยโหน่ง สีขาว เนื้อในผลมีรสหวานอมเปรี้ยวเป็นเส้นใยเกาะกันเหนียวแน่น  เนื้อจะไม่แยกแต่ละเมล็ดเป็นหนึ่งตาเหมือนน้อยหน่า ถ้าผลดิบมีรสอมเปรี้ยว และมีรส มันเล็กน้อย เมล็ดแก่สีน้ำตาลดำ หุ้มด้วยเนื้อสีขาว ติดผลช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม

ต้นทุเรียนเทศ
ต้นทุเรียนเทศ ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบสีเขียวเข้มเป็นมันเงา

การขยายพันธุ์ของทุเรียนเทศ

การใช้เมล็ดเพาะกล้าไม้ ก่อนนำไปปลูก

การปลูก
ทุเรียนเทศชอบดินร่วน มีความชุ่มชื้น ระบายน้ำได้ดี มีแสงแดดครึ่งวันถึงรำไร นิยมปลูกเป็นไม้ประดับในบ้าน ในการปลูกเป็นการค้านิยมปลูกในประเทศมาเลเซีย โดยมีระยะปลูก 4 + 4 เมตร ให้ผลได้ในปีที่ 4 ได้ผลผลิตประมาณ 1.5 – 2 ตันต่อไร่ต่อปี

ผลทุเรียนเทศ
ผลทุเรียนเทศ ผลมีสีเขียวรูปกลมรี มีหนามนิ่มที่เปลือกผล

ธาตุอาหารหลักที่ทุเรียนเทศต้องการ

ประโยชน์ของทุเรียนเทศ

  • ผลสุกรับประทานได้รสหวานอมเปรี้ยว   นิยมนำมาประกอบเป็นอาหาร
  • ในประเทศไทยนำผลแก่มารับประทาน ในภาคใต้นิยมนำผลอ่อนมาทำแกงส้มและเชื่อม
  • ในประเทศฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย นิยมนำผลอ่อนที่เมล็ดยังไม่แข็งมารับประทานเป็นผัก ผลแก่นำมาทำขนมหวาน เช่น นำเนื้อมาผสมในไอศกรีม เครื่องดื่มนมผสมผลไม้รวม เยลลี่ น้ำผลไม้
  • ในประเทศมาเลเซีย มีการทำน้ำทุเรียนเทศอัดกระปํอง ซึ่งได้รับความนิยมมาก เนื่องจากทุเรียนเทศประกอบด้วย แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามิน เอ วิตามิน ซี นำตาลและกรดอินทรีย์อีกหลายชนิด

สรรพคุณทางยาของทุเรียนเทศ

  • ผลสุกรับประทานแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน ผลดิบรับประทานแก้โรคบิด
  • เมล็ดใช้สมานแผลห้ามเลือด ใช้เบื่อปลาและฆ่าแมลง
  • ส่วนใบ ใช้รักษาโรคผิวหนัง แก้ไอ ปวดตามข้อ

คุณค่าทางโภชนาการของทุเรียนเทศ

การแปรรูปของทุเรียนเทศ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11148&SystemType=BEDO
www.natres.psu.ac.th
www.flickr.com

Add a Comment