นางจุ่ม เปลือกต้นเป็นส่วนผสมปรุงยาต้มดื่ม แก้ปวดเมื่อย และแก้เส้นตึง

นางจุ่ม

ชื่ออื่นๆ : นางชุ่ม มะนาวป่า (เหนือ) ผักหวานดง (ชลบุรี) นมสาว ตาไก่หิน นางจอง เหมือดคน เถาเดือยไก่

ต้นกำเนิด : พบตามป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง เบญจพรรณ ป่าผสมผลัดใบ ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึง 700 เมตร

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cansjera rheedii J.F. Gmelin

ชื่อวงศ์ : OPILIACEAE

ลักษณะของนางจุ่ม

ต้น ไม้พุ่มรอเลื้อยเนื้อแข็ง สูงได้ถึง 8 เมตร ลำต้นและกิ่งอ่อนมีสีเขียว มีขนสั้นนุ่มปกคลุม แตกกิ่งก้านมาก ลำต้น เปลือกนอกสีน้ำตาลอ่อน ตามลำต้นมีหนามทู่จำนวนมากกระจายทั่วไป

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบเดียวกัน แผ่นใบรูปไข่ รูปใบหอก หรือรูปรี กว้าง 1.5-5 เซนติเมตร ยาว 3-13 เซนติเมตร ผิวใบมีขนเล็กน้อยโดยเฉพาะที่เส้นใบ ปลายเรียวแหลม โคนสอบเรียวสั้นๆถึงสอบเรียว ขอบใบเป็นคลื่น แผ่นใบค่อนข้างหนาและเป็นมัน มีขนประปรายที่เส้นกลางใบและโคน เส้นแขนงใบ เส้นใบแบบขนนกร่างแห 4-10 คู่ ก้านใบสั้นมาก ยาว 3-5 มิลลิเมตร มีขนกระจาย

ดอก ช่อดอกยาวแบบช่อเชิงลด สีเหลืองอมเขียว ออกเป็นช่อตามซอกใบ 1-4 ช่อ แต่ละช่อยาว 1.3-4 เซนติเมตร และมี 8-16 ดอกต่อช่อ ก้านช่อดอกยาว 1-3 มิลลิเมตร แกนช่อดอกมีขนปกคลุมหนาแน่น ดอกขนาดเล็กติดตามก้านช่อดอก ไม่มีก้านดอก ดอกสมบูรณ์เพศ สมมาตรตามรัศมี ใบประดับ 1 อัน รูปสามเหลี่ยม ยาวไม่เกิน 1 มม. ปลายแหลม มีขนสั้นกระจายทั่วไป เฉพาะขอบมีขนยาว กลีบรวม 4-(5) กลีบ หลอดกลีบรูปโถหรือรูปคนโท กว้าง 2.0-2.5 มม. ยาว 2.5-4.5 มม. ปลายแยกแฉกแหลม ยาว 1 มม. เรียงจรดกัน ขอบเรียบ สีเขียวอมเหลือง ผิวด้านนอกมีขนกระจาย ส่วนด้านในเกลี้ยง เกสรเพศผู้ 4 อัน เรียงระหว่างแฉกกลีบรวม ยาว 2.5-3.0 มม. อับเรณู 2 พู ขนาดเล็ก แตกตามยาว เกลี้ยง สีขาวอมเหลือง อยู่ระดับปากหลอดกลีบรวม ก้านชูอับเรณูเกลี้ยง ติดที่ฐานและเชื่อมติดบนกลีบรวม เกสรเพศเมียเดี่ยว รูปขวด รังไข่เหนือวงกลีบ เกิดจาก 1 คาร์เพล 1 ช่อง มีออวุล 1 อัน พลาเซนตาที่ฐาน กว้าง 0.5 มม. ยาว 1.5-2.5 มม. เกลี้ยง สีเขียวอมเหลือง ก้านเกสรเพศเมีย 1 อัน ยาวประมาณ 1 มม. ยอดเกสรเพศเมียแยก 4 แฉก จานฐานดอก 4 อัน แยกกัน รูปสามเหลี่ยม ยาว 1 มม. ขอบเรียบ เกลี้ยง สีเขียวอมเหลือง ออกดอกราวเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ ติดผลราวเดือนมกราคมถึงมีนาคม

ผล ผลแบบผลสดเมล็ดเดียวแข็ง รูปกลมรี ขนาดเล็ก กว้าง 7-9 มิลลิเมตร ยาว 10-13 มิลลิเมตร โคนและปลายมน ผิวขรุขระ สีเขียว เมื่อแก่เป็นสีส้มแดง ภายในมีเมล็ดแข็ง 1 เมล็ด และมีกลีบรวมกับยอดเกสรเพศเมียติดคงทน ก้านผลยาว 2-5 มม. มีขนกระจายทั่วไป

เมล็ด เมล็ดรูปไข่หรือรูปรี ค่อนข้างกลม กว้าง 4-5 มม. ยาว 6-7 มม. เกลี้ยง

นางจุ่ม
นางจุ่ม ไม้พุ่มรอเลื้อย แผ่นใบค่อนข้างหนาและเป็นมัน

การขยายพันธุ์ของนางจุ่ม

การเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่นางจุ่มต้องการ

ประโยชน์ของนางจุ่ม

เป็นผักชนิดหนึ่งที่พบวางขายอยู่ในตลาดทุ่งเสลี่ยมที่อยู่ระหว่างทางไปจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมัดรวมอยู่กับตะแบก แต่แม่ค้ามักเรียกผักชนิดนี้ว่า “นางโจม” และบอกว่า นางโจมเป็นผักที่นิยมนำมาทำแกงหรือใส่ร่วมกับแกงแค มีรสอร่อยมากเหมือนผักหวานป่า และมีให้เก็บกินได้ตลอดทั้งปี

ดอกนางจุ่ม
ดอกนางจุ่ม สีเหลืองอมเขียว ออกเป็นช่อตามซอกใบ

สรรพคุณทางยาของนางจุ่ม

  • เปลือกต้น เป็นส่วนผสมปรุงยาต้มดื่ม แก้ปวดเมื่อย และแก้เส้นตึง
ผลนางจุ่ม
ผลนางจุ่ม ผลกลมรี สีเขียว ผลแก่เป็นสีส้มแดง

คุณค่าทางโภชนาการของนางจุ่ม

การแปรรูปของนางจุ่ม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9902&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment