น้อยโหน่ง
ชื่ออื่นๆ : น้อยโหน่ง (ภาคกลาง) มะโหน่ง, มะเหนียงแฮ้ง (ภาคเหนือ) มะดาก (แพร่) หนอนลาว (อุบลราชธานี) หมากอ้อ (แม่ฮ่องสอน) น้อยหนัง (ภาคใต้) น้อยหน่า (ปัตตานี) เร็งนา (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
ต้นกำเนิด : อเมริกาเขตร้อน
ชื่อสามัญ : น้อยโหน่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Annona reticulata
ชื่อวงศ์ : Annonaceae
ลักษณะของน้อยโหน่ง
ต้น เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เปลือกบางแต่เหนียว ค่อนข้างเรียบ ไม่นูนเป็นตา ๆ สีเขียวจาง ๆ ปนสีแดงเรื่อ ๆ ความสูงของลำตัวประมาณ 5-8 เมตร
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ เป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก หรือใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับเป็นรูปใบหอก ปลายและโคนใบแหลมสีเขียวสด ปลูกได้ในดินทั่วไป
ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยว ๆ หรือออกเป็นช่อกระจุก 2-3 ดอก กลีบดอกค่อนข้างหนา มีกลีบดอก 3 กลีบ กลีบดอกมีสีเหลืองแกมเขียว และดอกมีกลิ่นหอมแบบเอียน ๆ ดอกออกช่วงเดือนกุมภาพันธ์
ผล ผลน้อยโหน่ง ขนาดของผลจะมีขนาดใหญ่กว่าน้อยหน่า ผลรูปกลมหรือรูปทรงหัวใจ ผิวเปลือกบางเรียบแต่เหนียว ไม่มีตาโปนออกมาตามเปลือกเหมือนน้อยหน่า ผลดิบเปลือกมีสีเขียวจาง ๆ ปนแดงเรื่อ ๆ แต่เมื่อสุกจะเป็นสีแดงอมน้ำตาลเข้ม เนื้อข้างในผลหนามีสีขาว มีเมล็ดจำนวนมาก และมีรสหวานแต่ไม่เท่าน้อยหน่า โดยน้อยโหน่งจะได้รับความนิยมในการรับประทานน้อยกว่าน้อยหน่า เนื่องจากผลน้อยโหน่งมีกลิ่นฉุนนั่นเอง ผลออกในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม
การขยายพันธุ์ของน้อยโหน่ง
ใช้เมล็ด/เพาะเมล็ด/ตอนกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่น้อยโหน่งต้องการ
ประโยชน์ของน้อยโหน่ง
- ผลสดที่สุกแล้ว ใช้รับประทาน มีรสหวานมัน มีวิตามินและคุณค่าทางอาหารสูง
- ทั้งผลดิบและใบสด ยังสามารถใช้ต้มเอาน้ำมาทำเป็นสีดำ หรือสีน้ำเงิน ใช้ย้อมผ้าให้สวยงาม และติดทนนานอีกด้วย
สรรพคุณทางยาของน้อยโหน่ง
- เปลือกเป็นยาสมานแผล และห้ามเลือด มี tannin และ aalkaloid anonaine
- ใบเป็นยาถ่ายพยาธิ แก้โรคบิด และเป็นยาพอกฝี
- น้ำคั้นจากใบใช้ฆ่าเหา ผลดิบและผลแห้ง เป็นยาสำหรับโรคท้องร่วง โรคบิด และขับพยาธิ
- เมล็ดเป็นยาฆ่าแมลง และเป็นยาสมานแผล
- เนื้อในเมล็ดเป็นยาพิษอย่างแรง รากใช้รักษาโรคเรื้อน
คุณค่าทางโภชนาการของน้อยโหน่ง
การแปรรูปของน้อยโหน่ง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10196&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
One Comment