มะขาม ต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน ผลเป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยว และหวาน นอกจากนี้มะขามยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์
มะขาม สามารถรับประทานได้ทั้งยอดอ่อน ผลหรือ ฝัก อีกทั้งยังรับประทานได้ทั้งสดๆ และแบบแปรรูป เช่น แช่อิ่ม กวน อบ แม้กระทั่งเมล็ดก็สามารถนำมารับประทานได้เช่นเดียวกัน วันนี้เกษตรตำบลจะมาแนะนำวิธีการทำน้ำมะขามแบบง่าย มากฝากกันค่ะ ไปดูส่วนผสมและวิธีการทำได้เลย
ส่วนผสม
- นํ้ามะขามคั้นอย่างให้ข้นมาก 1 ถ้วยตวง
- น้ำตาลทราย 1½ ถ้วยตวง
- น้ำ 2 ถ้วยตวง
- เกลือ 2 ช้อนชา
วิธีการทำ
- มะขามเปียกที่ออกใหม่เลือกที่สะอาด ล้างนํ้าให้สะอาดคั้นให้ได้ข้นปานกลาง 1 ถ้วยตวง
- ผสมนํ้าตาลทราย นํ้า ตามส่วน คนไปเรื่อยๆ จนนํ้าตาลทรายละลายนํ้าเข้ากันดี กรองให้สะอาด ด้วยผ้าขาวบางทบ 2 ชั้น สัก 2 ครั้ง นําไปต้มให้เดือดพล่าน ทิ้งไว้ให้เย็น
วิธีรับประทาน
เสิร์ฟผสมกับนํ้าแข็ง
สิ่งน่ารู้
ถ้ามีมะขามสดก็ใช้แทนได้โดยแกะเปลือกและเมล็ดออก นําไปบดเติมนํ้าเล็กน้อยต้มให้ เดือดกรองเอาแต่น้ำแล้วจึงผสมกับนํ้าเชื่อม
ประโยชน์ทางสมุนไพรของมะขาม
- ถ่ายพยาธิ ใช้เมล็ดในที่มีสีขาว 20-25 เมล็ดต้มกับน้ำใส่เกลือเล็กน้อย รับประทานเนื้อทั้งหมด 1 ครั้งหรือคั่วให้เนื้อในเหลืองกะเทาะเปลือก แช่นํ้าให้นิ่มเคี้ยวรับประทานเช่นถั่ว
- แก้ท้องผูก ใช้เนื้อหุ้มเมล็ดคลุกเกลือรับประทาน ระบายท้อง
- แก้ไอ ขับเสมหะ ใช้เนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียก จิ้มเกลือรับประทาน
- ใบอ่อน ใชต้มเอานํ้าโกรกศีรษะ แก้หวัด คัดจมูก
- เป็นอาหาร
– ฝักอ่อนใช้ตํานํ้าพริก จิ้มกะปิหวานหรือนํ้าปลาหวาน
– ฝักแก่ (มะขามเปียก) ใช้ปรุงรสอาหารคาว
– ทํามะขามคลุก มะขามแช่อิ่ม - ประโยชน์อื่นๆ
– เนื้อไม้ใช้ทําเขียงมีคุณภาพดี เพราะเนื้อไม้เหนียว
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.flickr.com