บรอกโคลี มีรสชาติหวานกรอบ สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย

บรอกโคลี

ชื่ออื่นๆ : กะหล่ำดอกอิตาลี

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica oleracea var. italica

ชื่อวงศ์ : Cruciferae

ลักษณะของบรอกโคลี

ลักษณะภายนอกของบรอกโคลี จะมีใบกว้างสีเขียวเข้มออกเทา ริมขอบใบเป็นหยัก ทรงพุ่มใหญ่เก้งก้าง ลำต้นใหญ่และอวบ ดอกอยู่รวมกันเป็นกลุ่มช่อหนาแน่นดูเป็นฝอย ๆ สีเขียวเข้ม ดอกมีขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 16 เซนติเมตร โดยทั่วไปนิยมกินตรงส่วนที่เป็นดอกและลำต้นจะนิยมรองลงมา แต่ในด้านคุณค่าทางอาหาร โดยเฉพาะวิตามินซี กลับมีอยู่มากในส่วนของลำต้น ด้งนั้นหลังจากเก็บบรอกโคลีไว้นานพบว่าดอกกลายเป็นสีเหลือง อย่าเพิ่งทิ้ง นำส่วนของลำต้นมาทำอาหารรับประทานได้บรอกโคลีมีรสหวาน กรอบ จึงเป็นที่นิยมกันมากขึ้นเรื่อย ๆ

ต้นบรอกโคลี
ใบกว้างสีเขียวเข้มออกเทา ริมขอบใบเป็นหยัก

การขยายพันธุ์ของบรอกโคลี

เพาะเมล็ด
บรอกโคลีเป็นพืชผักที่ปลูกในสภาพอุณหภูมิต่ำ บรอกโคลีเติบโตได้ดีที่สุดเมื่อสัมผัสกับอุณหภูมิเฉลี่ยต่อวันระหว่าง 18°C และ 23°C (64°F และ 73°F) วิธีปลูก คือ หลังจากต้นกล้ามีอายุ 25 – 30 วัน จึงทำการถอนกล้าไปปลูก วิธีถอนก็โดยการใช้มือดึงตรงส่วนใบขึ้นมาตรง ๆ ไม่ใช่จับที่ลำต้นเพราะอาจทำให้ช้ำได้ เมื่อถอนแล้วใส่เข่งเอาผ้าชุบน้ำคลุมเก็บไว้ในที่ร่ม พอตอนเย็นแดดอ่อน ๆ ประมาณบ่าย 3 – 4 โมง จึงนำมาปลูกในแปลงปลูกที่เตรียมรดน้ำเอาไว้แล้ว ใช้นิ้วชี้เจาะดินเป็นรูปักต้นกล้าลงไปแล้วกดดินพอประมาณไม่ต้องถึงกับแน่น ระยะปลูกระหว่างต้นห่างประมาณ 30 – 60 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถวห่างประมาณ 50 – 100 เซนติเมตร ผลของการปลูกห่างก็คือ จะทำให้ลำต้นโตได้เต็มที่ไม่ต้องเบียดกัน จะทำให้ได้ดอกใหญ่ขึ้น น้ำหนักต่อต้นสูง และไม่เกิดโรคเน่าที่เกิดจากต้นพืชเบียดกันแน่นเกินไป หลังจากปลูกแล้วคลุมดินด้วยฟางแห้งหรือหญ้าบาง ๆ เพื่อช่วยให้ต้นกล้าตั้งตัวได้เร็ว ช่วยรักษาความชื้นของดิน และภายหลังเมื่อผุพังแล้วยังกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ให้แก่ดินอีกด้วย เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่ม

ธาตุอาหารหลักที่บรอกโคลีต้องการ

ประโยชน์ของบรอกโคลี

บรอกโคลีเป็นผักที่รับประทานดอกอ่อนและก้าน บรอกโคลี มีรสชาติหวานกรอบ สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย

สรรพคุณทางยาของบรอกโคลี

ในบรอกโคลี่มีสารที่เรียกว่า ซัลโฟราเฟน (sulforaphane) ซึ่งเป็นสารป้องกันโรคมะเร็ง บรอกโคลี่ 1 ถ้วยตวง ให้วิตามินซีมากถึง 13% ของปริมาณวิตามินซีที่เราควรรับประมทานต่อวันและบร็อคโคลี่ก็อุดมไปด้วย เบต้า-แคโรทีน บรอกโคลี่ ยังมีธาตุซีลีเนียมที่มีสรรพคุณช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้ผิวหนังอีกด้วย ดังนั้น การรับประทาน
บรอกโคลี่เป็นประจำจะช่วยชะลอผิวพรรณไม่ให้เหี่ยวย่นง่ายดูอ่อนกว่าวัยเป็นหนุ่มสาวอยู่ตลอดเวลา
– ช่วยป้องกันมะเร็ง
– อุดมด้วยวิตามินซี สารแอนตี้ออกซิแดนท์ ที่ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระในร่างกายและยังช่วยให้ผนังเส้นเลือดแข็งแรงอีกด้วย
– ประกอบด้วยสาร glutathione ซึ่งช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดไขข้ออักเสบ เบาหวาน และโรคหัวใจ และนอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย ลดระดับคลอเลสเตอรอล และช่วยลดความดันโลหิตสูง
– ป้องกันการเกิดต้อกระจก เนื่องจากบรอกโคลี่จะมีสารเบต้าแคโรทีนสูงโดยเฉพาะสาร lutein

ดอกบรอกโคลี
ดอกมีขนาดใหญ่ สีเขียวเข้ม

คุณค่าทางโภชนาการของบร็อคโคลี

คุณค่าทางโภชนาการของบรอกโคลี่ 100 กรัม ให้พลังงาน 34 กิโลแคลอรี

  • โปรตีน 2.82 กรัม
  • ไฟเบอร์ 2.6 กรัม
  • วิตามินเอ 623 IU
  • วิตามินซี 89.2 มิลลิกรัม
  • วิตามินอี 0.17 มิลลิกรัม
  • วิตามินเค 101.6 ไมโครกรัม
  • วิตามินบี1 0.071 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี2 0.117 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี3 0.639 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี5 0.573 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี6 0.175 มิลลิกรัม
  • โฟเลท 63 ไมโครกรัม
  • แคลเซียม 47 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็ก 0.73 มิลลิกรัม
  • แมกนีเซียม 21 มิลลิกรัม
  • โพแทสเซียม 316 มิลลิกรัม
  • สังกะสี 0.41 มิลลิกรัม

การแปรรูปของบรอกโคลี

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11140&SystemType=BEDO

7 Comments

Add a Comment