บอนกระดาดด่าง
ชื่ออื่นๆ : กระดาดด่าง
ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อสามัญ : –
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alocasia macrorrhizos (L.) G.Don
ชื่อวงศ์ : ARACEAE
ลักษณะของบอนกระดาดด่าง
ต้น ไม้ล้มลุก มีหัวอยู่ใต้ดิน เจริญเป็นกอสูงได้ถึง 2 เมตร ลำต้นสั้น ตั้งตรง สีม่วงปนสีน้ำตาล อวบน้ำ
ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่แกมรูปหัวใจ กว้าง 25-60 เซนติเมตร ยาว 30-90 เซนติเมตร ปลายติ่งแหลม โคนเว้าลึก ขอบเป็นคลื่น แผ่นใบสีเขียว มีรอยด่างปื้นสีขาวอมเทากระจายไม่เป็นระเบียบ ผิวเรียบเป็นมัน มีเส้นแขนงใบข้างละ 5-7 เส้น ก้านใบใหญ่ ยาว 1.2-1.5 เมตร สีเขียวมีรอยด่างสีขาว เป็นปื้นยาว
ดอก ออกดอกเป็นช่อ ออกตามปลายยอด ดอกแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ช่อดอกเป็นแท่งยาวปลายแหลม ยาว 11-23 เซนติเมตร ก้านช่อดอก ยาว 25-50 เซนติเมตร มีกาบรองดอกสีเหลืองอมเขียวหุ้มอยู่ โคนกาบโอบรอบโคนช่อดอก ดอกเพศผู้อยู่บริเวณส่วนบน ดอกเพศเมียอยู่บริเวณโคนช่อ
ผล กลม เป็นกระจุก ไม่มีก้านผล ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีส้มแดง
การขยายพันธุ์ของบอนกระดาดด่าง
การเพาะเมล็ด, การแยกหน่อ
การปลูกเลี้ยง ดินเหนียวหรือดินร่วน ต้องการน้ำมาก ชอบแดดรำไร
ธาตุอาหารหลักที่บอนกระดาดด่างต้องการ
ประโยชน์ของบอนกระดาดด่าง
ปลูกประดับสวน ปลูกเป็นไม้กระถาง
สรรพคุณทางยาของบอนกระดาดด่าง
คุณค่าทางโภชนาการของบอนกระดาดด่าง
การแปรรูปของบอนกระดาดด่าง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10702&SystemType=BEDO
https ://data.addrun.org
https://www.flickr.com