บอนส้ม ช่อดอกยอดอ่อนก้านใบนำไปปรุงอาหาร สรรพคุณทางยาใช้รักษาอาการไอ ขับเสมหะ

บอนส้ม

ชื่ออื่นๆ : กลาดีมาแซ้ (มลายู, นราธิวาส, มาเลย์) บอนส้ม (ภาคใต้) บอนหอม (ภาคเหนือ,แพร่,น่าน)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : บอนส้ม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Homalomena rostrata Griff

ชื่อวงศ์ : ARACEAE

ออกเป็นช่อ หรือเป็นแท่งกลมยาวลักษณะของบอนส้ม

ต้น ไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นก้านหุ้มคล้ายบอน แต่มีขนาดเล็กกว่า ลำต้นป้อมสั้น มีความยาวประมาณ 5-7.5 เซนติเมตร

ใบ ใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปหอกกลับ ใบจะเรียวแหลมริมขอบใบจะเรียวส่วนตรงโคนใบจะกลมแคบ มีความยาวประมาณ 15-60 เซนติเมตร กว้างประมาณ 60 เซนติเมตร

ดอก ดอกออกเป็นช่อเป็นแท่งกลมยาว ดอกตัวเมียนั้นจะอยู่ตอนล่างถัดจากดอกตัวผู้แต่จะมีจานวนน้อยกว่าตัวผู้หรืออาจจะ มีดอก ไม่มีเพศคั่นอยู่ระหว่างกลางก้านช่อดอกยาว ดอกอ่อนจะมีสีขาวเมื่อแก่จะมีสีเขียวมีกาบหุ้มช่อดอกยาวประมาณ 12.5-15  เซนติเมตร กาบจะป่องออกมาตรงช่วงที่เป็นดอกเพศเมียตรงปลายของมันจะเป็นรูปจะงอยส่วนตรงกลางจะขอดและตอนบนแคบ

ต้นบอนส้ม
ต้นบอนส้ม ไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นก้านหุ้มคล้ายบอน
ใบบอนส้ม
ใบบอนส้ม ใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปหอกกลับ

การขยายพันธุ์ของบอนส้ม

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ

ธาตุอาหารหลักที่บอนส้มต้องการ

ประโยชน์ของบอนส้ม

ช่อดอก ยอดอ่อนก้านใบ ลอกเปลือกออกนำไปปรุงอาหาร เช่น แกงส้ม แกงเลียง หลามบอน แกงห้วย แกงยอดตาว แกงหน่อหวาย เป็นต้น

สรรพคุณทางยาของบอนส้ม

  • รากและใบ แก้ไข้ แก้ไอ
  • ยอดอ่อน นำไปบด พอกเพื่อทำให้กระเพาะอาหารพองตัว
  • เหง้า เป็นยาบำรุงกำลัง
  • ต้น ใช้รักษาอาการไอ และขับเสมหะ

คุณค่าทางโภชนาการของบอนส้ม

การแปรรูปของบอนส้ม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11782&SystemType=BEDO, www.sc.sci.tsu.ac.th, www.flickr.com

Add a Comment