บัวผุด
ชื่ออื่นๆ : บัวตูม, กระโถนฤาษี, บัวสวรรค์
ต้นกำเนิด : อินโด-มาลายา ในไทยพบตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี ตั้งแต่ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา และ สุราษฎร์ธานี
ชื่อสามัญ : Sapria Himalayana
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rafflesia kerri
ชื่อวงศ์ : RAFFLESIACEAE
ลักษณะของบัวผุด
ดอกตูมอยู่จะคล้ายกับหม้อขนาดใหญ่มีกลีบหนาจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก 70-80 เซนติเมตร ที่โคนของดอกมีกลีบนำสีน้ำตาลอมเหลืองเรียงสลับซับซ้อนกันอยู่มาก ภายในดอกจะมีแผ่นแบนคล้ายจาน ด้านบนมีปุ่มคล้ายหนามแหลมจานนี้จะซ้อนเกสรตัวผู้และรังไข่ไว้ด้านล่าง ดอกของบัวผุดใช้เวลาตั้งแต่เป็นดอกตูมจนบานถึง 9เดือน ดอกจะบานอยู่ได้เพียง 4-5 วันเท่านั้น หลังจากนั้นก็จะค่อย ๆ ดำเน่าไป และขณะนี้มีจำนวนลดลงเรื่อย ๆ ฉะนั้นเมื่อนักท่องเที่ยวไปเดินป่าเพื่อชมดอกบัวผุดจึงควรใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะอาจจะไปเหยียบย่ำบนดอกตูมของบัวผุดได้
อาศัยอยู่บนรากของพืชจำพวกเถาองุ่นป่า (Tetrastigma) ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ย่านไก่ต้ม มีลักษณะเด่นที่ดอกซึ่งเป็นดอกเดียวขึ้นจากพื้นดินมีขนาดใหญ่ มีกลิ่นเหม็นมาก ให้เห็นระหว่างฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม
การขยายพันธุ์ของบัวผุด
เป็นพืชเบียนที่อาศัยอยู่บนรากไม้อื่น เช่น ส้มกุ้ง เครือเขาน้ำ
ธาตุอาหารหลักที่บัวผุดต้องการ
ประโยชน์ของบัวผุด
เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
สรรพคุณทางยาของบัวผุด
–
คุณค่าทางโภชนาการของบัวผุด
การแปรรูปของบัวผุด
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11156&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com