บานบุรี
ชื่ออื่นๆ : บานบุรีเหลือง (ภาคกลาง)
ต้นกำเนิด : บราซิล และอเมริกาเขตร้อน
ชื่อสามัญ : Golden trumpet
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allamanda cathartica L.,
ชื่อวงศ์ : Apocynaceae
ลักษณะของบานบุรี
ต้น ไม้พุ่มกึ่งเลื้อยขนาดเล็ก ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว
ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามกันเป็นคู่หรือออกรอบข้อ 3-4 ใบ ใบรูปขอบขนานหรือรูปใบหอกกว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 8-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลมเป็นติ่ง โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมันเห็นเส้นใบชัดเจน
ดอก ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียว มี 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยก 5 แฉก เป็นรูปปากแตร ดอกตูมกลีบดอกจะบิดไปทางเดียวกัน ดอกบานเต็มที่กว้าง 6-10 เซนติเมตร
ผล ผลแห้งแตก ทรงกลม มีหนาม เมล็ดจำนวนมาก
การขยายพันธุ์ของบานบุรี
ใช้กิ่ง/ลำต้น/โดยการตอนกิ่ง เพาะชำ ติดตา
ธาตุอาหารหลักที่บานบุรีต้องการ
ประโยชน์ของบานบุรี
ปลูกประดับบ้าน
สรรพคุณทางยาของบานบุรี
- เปลือกและยาง รสเมาร้อน ใช้น้อย ๆ เป็นยาถ่าย ขับน้ำดี
- ใบ รสเมาร้อน ใช้เป็นยาถ่าย รักษาอาการจุดเสียด และทำให้อาเจียน
คุณค่าทางโภชนาการของบานบุรี
การแปรรูปของบานบุรี
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11453&SystemType=BEDO
www.flickr.com