บีปลากั้ง
ชื่ออื่นๆ : ดีปลากั้ง
ต้นกำเนิด : เอเชียเขตร้อน และทางตอนใต้จนถึงตอนกลางของประเทศจีน
ชื่อสามัญ : ดีปลากั้ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phlogacanthus pulcherrimus T.Anderson.
ชื่อวงศ์ : Acanthaceae
ลักษณะของบีปลากั้ง
ต้น ไม้พุ่มสูง 50-150 ซม. ลำต้น ตั้งตรง
ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน ยาว 8-16 ซม. กว้าง 3-5 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ก้านใบ ยาว 1-3 ซม.
ดอก ช่อดอก แบบช่อเชิงลด ออกที่ปลายยอด ดอก สมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยง มีสีเขียว รูประฆัง ยาว 5 มม. กลีบดอก สีม่วงอมแดง เชื่อมกันเป็นรูปคนโท ส่วนหลอดกลีบพองออกด้านเดียว ส่วนปลายแยกเป็น 5 แฉก
ผล แบบแคปซูล ยาว 2.5-3.5 ซม.
การขยายพันธุ์ของบีปลากั้ง
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่บีปลากั้งต้องการ
ประโยชน์ของบีปลากั้ง
เป็นอาหาร ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักแกล้มกับน้ำพริก
สรรพคุณทางยาของบีปลากั้ง
- ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ ลำต้น ต้มน้ำดื่ม ช่วยขับปัสสาวะ
- ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดมุกดาหาร ไม่ระบุส่วนที่ใช้ เป็นยาบำรุงกำลัง
คุณค่าทางโภชนาการของบีปลากั้ง
การแปรรูปของบีปลากั้ง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12225&SystemType=BEDO
www.flickr.com