ประสงค์ช้าง เครือประสงค์ช้าง ต้นประสงค์เครือช้าง

ประสงค์ช้าง เครือประสงค์ช้าง

ชื่ออื่นๆ : จุกโรหินี, นวยนั่ง, นอยนั่ง (ชุมพร) ตำยานฮากหอม (นครสวรรค์) หยั่งสมุทรน้อย (เชียงใหม่)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : เถาประสงค์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : streptocaulon juventus (Lour) Merr

ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE

ลักษณะของประสงค์ช้าง เครือประสงค์ช้าง

ต้น ไม้เถาเลื้อยพันขึ้นเกาะตามไม้อื่น สูงถึง 8 เมตร ลำต้นมีขนละเอียดสีน้ำตาล มีน้ำยางสีขาว

ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปไข่แกมรูปขอบขนานหรือรูปหอกกลับ กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 7-15 เซนติเมตร ปลายแหลมหรือมนและเป็นติ่งแหลม ฐานมนหรือรูปหัวใจ มีขนละเอียดหนาแน่นทั้งสองด้าน ผิวใบนุ่มทั้งสองด้าน

ดอก ดอกแบบช่อกระจะ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง มี 4 กลีบ กลีบดอก มี 5 กลีบ กลีบดอกสีม่วง

ผล ออกเป็นฝักคู่รูปกระบอก ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีน้ำตาล มีขนนุ่มปกคลุม เมล็ดขนาดเล็กด้านหนึ่งมีขนละเอียดสีขาว เรียงตามแนวติดกับแกนกลางผล ออกผลเดือน มิถุนายน-กรกฎาคม

เถาประสงค์
เถาประสงค์ เถามีสีน้ำตาล ทุกส่วนของเถามีขนนุ่ม

การขยายพันธุ์ของประสงค์ช้าง เครือประสงค์ช้าง

การเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ประสงค์ช้าง เครือประสงค์ช้างต้องการ

ประโยชน์ของประสงค์ช้าง เครือประสงค์ช้าง

ผลอ่อน รับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริก รสมัน ฝาดเล็กน้อย

สรรพคุณทางยาของประสงค์ช้าง เครือประสงค์ช้าง

น้ำยางรักษาโรคปากนกกระจอก รากเป็นยาแก้ไอเปลือกมีเส้นใยทำเชือก(จากการสัมภาษณ์และการจัดประชุมเสวนาผู้นำชุมชน)

ดอกเถาประสงค์
ดอกเถาประสงค์ ดอกออกที่ปลายกิ่ง สีม่วง

คุณค่าทางโภชนาการของประสงค์ช้าง เครือประสงค์ช้าง

การแปรรูปของประสงค์ช้าง เครือประสงค์ช้าง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9180&SystemType=BEDO
www.tistr.ot.th
www.flickr.com

Add a Comment