ปวยเล้ง
ชื่ออื่นๆ : ปวยเล้ง ผักโขมฝรั่ง สปิแนช สปินิช
ต้นกำเนิด : เอเชียกลาง
ชื่อสามัญ : Poey-Leang
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spinacia oleracea
ชื่อวงศ์ : Chenopodiaceae
ลักษณะของปวยเล้ง
เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุสั้น ลำต้นเดี่ยว มีลักษณะกลมสั้นๆ มีก้านใบยาว ออกเรียงสลับโดยรอบๆ มีสีเขียวอ่อน
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ มีลักษณะทรงรียาว โคนใบกว้างใหญ่ ปลายใบเรียวรี ผิวใบบางเรียบ มีก้านใบยาวอวบ ใบมีสีเขียว มีรสชาติหวานกรอบ มีกลิ่นเหม็นเขียว
ราก เป็นระบบรากแก้ว มีลักษณะกลมๆ แทงลงในดิน มีรากฝอยและรากแขนงเล็กๆ ออกตามแนวราบ มีสีน้ำตาล
ดอก ออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว ออกตามซอกใบและที่ปลายยอด มีแขนงก้านย่อยมาก มีดอกย่อย อยู่เป็นกระจุก ดอกมีลักษณะเล็กๆ กลีบดอกมีสีชมพูหรือสีแดงอมม่วง
ผล มีลักษณะทรงกลม ผลดิบมีสีเขียว ผลแก่มีสีน้ำตาล ข้างในมีเมล็ดอยู่
เมล็ด อยู่ในผล มีลักษณะทรงกลม มีขนาดเล็กๆ มีสีน้ำตาลเข้ม
การขยายพันธุ์ของปวยเล้ง
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ปวยเล้งต้องการ
ปวยเล้งเป็นพืชที่ชอบน้ำ ต้องระบายน้ำดี น้ำไม่ขัง ชอบแสงแดด ต้องหมั่นรดน้ำให้ชุ่ม โดยรดน้ำเช้าเย็น ให้โดนแดดตลอดวัน จะทำให้เจริญเติบโตได้เร็ว
ประโยชน์ของปวยเล้ง
ปวยเล้งเป็นผักที่มีรสชาติหวาน นิยมนำมาลวกแล้วใส่ลงไปในผักสลัด นำไปต้มในแกงจืด นำไปผัดกับไข่ หรือเนื้อสัตว์ หรือแม้กระทั่งนำไปทำเป็นไส้ในขนมอบต่างๆ เช่น พาย คีช เป็นต้น
สรรพคุณทางยาของปวยเล้ง
ช่วยบำรุงเลือด ช่วยห้ามเลือด ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยบำรุงฟัน ช่วยบำรุงสายตา ช่วยลดอาการตาบอดกลางคืน ช่วยลดความเสี่ยงของต้อกระจก ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยบำรุงประสาท ช่วยบำรุงความจำ ช่วยผ่อนคลาย ช่วยนอนหลับ ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยระบบขับถ่าย แก้ท้องผูก
คุณค่าทางโภชนาการของปวยเล้ง
มีแคลเซียม มีเส้นใย พลังงาน มีวิตามินซี มีโพแทสเซียม มีวิตามินเอ มีฟอสฟอรัส มีเหล็ก มีวิตามินบี1 มีวิตามินบี2 มีวิตามินบี3 มีวิตามินบี5 มีวิตามินบี6 มีคาร์โบไฮเดรต มีโปรตีน มีไขมัน มีแมกนีเซียม ไนอาซีน มีเบตาแคโรทีน โฟเลต วิตามินเค แมงกานีส
การแปรรูปของปวยเล้ง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10185&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
One Comment