ปวยเหล็ง สามารถรับประทานได้ทั้งใบและต้น

ปวยเหล็ง

ชื่ออื่นๆ :

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Spinach

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spinacia oleracea L.

ชื่อวงศ์ : CHENOPODIACEAE

ลักษณะของปวยเหล็ง

เป็นพืชล้มลุก ลำต้นสั้นเป็นกอ อวบน้ำ ใบเจริญเป็นพุ่ม จากลำต้นที่อวบสั้น กาบใบซ้อนกัน ใบใหญ่สีเขียวเข้ม หนาเป็นมัน ผิวใบเป็นคลื่น ใบหยิกหรือเรียบ ขอบใบอาจเรียบหรือหยัก ใบมีหลายลักษณะ เช่น ค่อนข้างกลม กลมยาว หรือค่อนข้าง เป็นเหลี่ยม ปลายใบมีลักษณะ คล้ายหัวลูกศร ใบแรกจะมี ขนาดใหญ่หลัง จากนั้น จะเล็กลงตามลำดับ มีจำนวน 25-35 ใบต่อต้น ใต้ใบมีขนอ่อนๆ ก้านใบเล็ก กรอบ สีเขียวอ่อน ความยาวประมาณ 25-45 เซนติเมตร จำนวนใบจะขึ้นอยู่กับ สภาพแวดล้อม ปวยเหล็งเป็นพืช ที่มีต้นตัวผู้ และต้นตัวเมียแยกกัน ดอกตัวผู้จะเจริญ เป็นกลุ่มบนก้านดอก และมักตายหลัง จากดอกบาน ดอกตัวเมีย ไม่มีกลับเลี้ยง เป็นพืชผสมข้าม ละออกเรณูจะ แพร่กระจายโดยลม

ต้นปวยเหล็ง
ลำต้นสั้นเป็นกอ อวบน้ำ ใบเป็นพุ่ม

การขยายพันธุ์ของปวยเหล็ง

ใช้เมล็ด/การปลูกและปฎิบัติดูแลรักษาปวยเหล็งในระยะ่ต่างๆของการเจริญเติบโต การเตรียมดิน
ขุดพลิกดินตากแดดทิ้งไว้อย่างน้อย 14 วัน ยกแปลงกว้าง 1.20 ม. ร่องแปลงห่าง 50 ซม. ลึก 30-40 ซม. ใส่ปุ๋ยคอก อัตรา 1,500-2,000 กก./ไร่ ใส่ปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 20 กก./ไร่ คลุกเคล้าให้เข้ากันปรับหน้าดินให้เรียบ ข้อควรระวัง ควรนำตัวอย่างดิน ไปวิเคราะห์หากมีสภาพเป็นดินกรด ควรแก้ไขด้วยปูนขาว อัตรา 0-100 กรัม/ตร.ม.
การเตรียมกล้าและเมล็ดพันธุ์
แช่เมล็ดพันธุ์ปวยเหล็งก่อนเพาะใน GA3 ที่ความเข้มข้น 100 ppm. เป็นเวลา 1 ชั่วโมง และห่อด้วยผ้าเปียกเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส
การให้น้ำ
ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ โดยพิจารณาจากความชุ่มชื้นของดินเป้นหลัก ข้อควรระวัง อย่าให้น้ำมากเกินไปเพราะจะทำให้เกิดโคนเน่า และไม่ควรฉีดพ่นสารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น เนื่องจากเป็นพืชอายุสั้น เก็บเกี่ยวเร็ว
การให้ปุ๋ย
เมื่อต้นกล้าอายุได้ 15 วัน หลังการถอนแยกต้นที่ชิดกันเกินไปออก ให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-0-0 และ 13-13-21 อัตรา 1:1 ปริมาณ 50 กิโลกรัม/ไร่ (โรยระยะหว่างแถวและพรวนดินกลบแ
การเก็บเกี่ยว
ควรเก็วเกี่ยวเมื่อายุประมาณ 30-45 วัน หลังการโรยเมล็ด โดยใช้มีดตัดต่ำกว่าดินเล็กน้อย และเก็บไว้ในที่ร่ม

ธาตุอาหารหลักที่ปวยเหล็งต้องการ

ปวยเหล็ง สามารถปลูกได้ดี ในสภาพที่มีอุณหภูมิต่ำ และช่วงแสงสั้น อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญ อยู่ระหว่าง 18-20 องศาเซลเซียส แต่ไม่เกิน 24 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส พืชจะชะงักการเจริญเติบโต ใบหนา เป็นคลื่น และมีขนาดเล็ก ในสภาพอุณภูมิสูง ช่วงแสงยาว หรือในสภาพที่มีอุณหภูมิสูงต่ำสลับกัน จะแทงช่อดอกเร็ว หากช่วงแสงสั้น การแทงช่อดอกจะช้ากว่าปกติ อายุการเก็บเกี่ยวขึ้นอยู่กับ อัตราการเจริญเติบโต สายพันธุ์ที่เก็บเกี่ยวเร็วจะมีอัตราการเจริญสูง ดังนั้นในการปลูกควรคัดเลือก สายพันธุ์ ที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูง แทงช่อดอกช้า เพื่อให้ได้ผลผลิตและคุณภาพสูง
เนื่องจากปวยเหล็งเป็นพืช ที่มีระบบรากตื้น และต้องการธาตุอาหารสูง ดินปลูกควรร่วนซุย และมีความอุดมสมบูรณ์สูง สำหรับ ความเป็นกรด-ด่างชองดิน มีเหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 6.2-6.9 และได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมดและพอเพียง

ประโยชน์ของปวยเหล็ง

ปวยเหล็งสามารถรับประทานได้ทั้งใบและต้น นำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ผัดน้ำมันหอย ต้มจืด ลวกใส่ในก๋วยเตี๋ยว สุกี้ ทำแกงจืด ต้นอ่อนรับประทานสดในสลัด หรืออาหารจำพวกซุป

สรรพคุณทางยาของปวยเหล็ง

ปวยเหล็งประกอบไปด้วยคุณค่าทางอาหารหลายชนิด เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และมีสารเบต้าแคโรทีน และวิตามินซี เป็นจำนวนมาก ช่วยบำรุงสายตา ผิวพรรณ และทำให้ กระดูกแข็งแรง และช่วยป้องกันโรคมะเร็ง

คุณค่าทางโภชนาการของปวยเหล็ง

การแปรรูปของปวยเหล็ง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10893&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment