ประโยชน์ของมะละกอ และประโยชน์ของมะละกอสุก

มะละกอ

ชื่ออื่นๆ : มะละกอ (ภาคกลาง) ก้วยลา (ยะลา), แตงต้น (สตูล), มะก้วยเทศ (ภาคเหนือ), มะเต๊ะ (มาเลย์-ปัตตานี), ลอกอ (ภาคใต้), บักหุ่ง (นครพนม-เลย)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Papaya, Melan Tree, Paw Paw

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carica papyya L

ชื่อวงศ์ : CARICACEAE

ลักษณะของมะก๋วยเทศ

ไม้ล้มลุกอายุหลายปีขนาดใหญ่ อายุหลายปี สูง 2-8 ม. ลำต้นตั้งตรงมักไม่แตกกิ่ง ไม่มีแก่น ต้นอวบน้ำ มีรอยแผลเป็นของก้านใบที่หลุดร่วงไป มีน้ำยางสีขาวทั่วลำต้น
ใบ ใบเรียงสลับรอบต้นบริเวณยอด ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือกว้าง ยาว 25-60 ซม. โคนใบเว้า ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเว้าเป็นแฉกลึก 7-11 แฉก และจักฟันเลื่อย ก้านใบยาว 25-90 ซม. เป็นท่อกลวงยาว
ดอก ดอกช่อสีขาวนวล มีกลิ่นหอม ออกที่ซอกใบ มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว 1.5-2.5 ซม. ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2.5 ซม. เกสรเพศผู้มี 10 อัน ดอกเพศเมียและดอกสมบูรณ์เพศออกเดี่ยวหรือ 2-3 ดอก กลีบดอก 5 กลีบ ดอกมีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้
ผล ผลเป็นผลสดรูปยาวรี ปลายแหลม ผลดิบมีเนื้อสีขาวอมเขียว ผลสุกมีเนื้อสีแดงส้ม เนื้อหนาอ่อนนุ่ม รสหวาน มีเมล็ดมาก รูปไข่สีน้ำตาลดำ ผิวขรุขระ  มีถุงเมือกหุ้ม

ต้นมะละกอ
ลำต้นตั้งตรงมักไม่แตกกิ่ง ไม่มีแก่น

การขยายพันธุ์ของมะก๋วยเทศ

การเตรียมดินเพาะกล้ามะละกอ โดยการใช้ดิน ที่มีส่วนผสมดังนี้ ดินร่วน 3 บุ้งกี๋ ปุ๋ยคอก, ขี้เถ้าแกลบ, ทรายหยาบ อัตราส่วน 1:1:1 ผสมคลุกเคล้าให้เข้ัากัน แล้วนำ มากรอกลงในถุงพลาสติกขนาด 4×6 หรือ 4×4 นิ้ว ให้เต็ม รดน้ำดินในถุงให้ชุ่ม นำเมล็ดพันธุ์มาหยอดลงในถุง ถุงละ 1-2 เมล็ด รดน้ำให้ชุ่มดูแลรักษารดน้ำทุกวัน หลังเมล็ดเริ่มงอกแล้วดูแลรักษาต้นกล้าประมาณ 30 วัน ก็สามารถย้ายปลูกในหลุมปลูกได้
การเตรียมแปลงปลูกมะละกอ มะละกอ เป็นพืชที่มีระบบรากลึกและกว้าง ทำหลุมปลูกระยะห่างระหว่างแถว 2-2.5 เมตร ระหว่างต้น 2 เมตร ตีหลุมลึก 0.5 เมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนแกงต่อหลุม ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว ทับบนปุ๋ยเคมี นำต้นกล้ามะละกอ ลงปลูกในหลุมกลบโคนเล็กน้อยแล้วรดน้ำให้ชุ่ม หลังปลูกเสร็จให้ทำหลักเพื่อยึดลำต้นไม่ให้โยกขณะลมพัด
การดูแลรักษามะละกอ การใ้ห้ปุ๋ย
– ให้ปุ๋ย 15-15-15 หลุมละ 1 ช้อนแกง ทุก 30 วัน
– ให้ปุ๋ย 14-14-21 หลังติดดอกออกผลแล้ว อัตรา 1ช้อนแกง/ต้น/หลุม หรือจะใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์น้อยลงก็ได้ การให้น้ำ เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย แต่อย่าให้ขาดน้ำ เพราะจะทำให้ต้นแคระแกรน ไม่ติดดอกออกผล การให้น้ำอย่าให้มากเกินไป ถ้าน้ำท่วมขังนาน 1-2 วัน ต้นมะละกอจะเหลืองและตายในที่สุด การพรวนดินกำจัดวัชพืช ควรมีการพรวนดินกำจัดวัชพืชในช่วงแรก อย่าให้วัชพืชรบกวน การทำไม้หลัก เพื่อค้ำยันพยุงลำต้นไม่ให้ล้ม โดยเฉพาะช่วงติดผล การเก็บเกี่ยว มะละกอ ถ้าเก็บผลดิบสามารถเก็บได้หลังปลูกประมาณ 5-6 เดือน แต่ถ้าเก็บผลสุกหลังจากปลูกประมาณ 8-10 เดือน ถึงสามาถเก็บเกี่ยวได้ ให้เลือกเก็บเกี่ยวผลที่กำลังเริ่มสุกมีสีแต้มสีส้มปนเขียวนิดๆ ผลยังไม่นิ่ม

ผลมะละกอ
ผลสดรูปยาวรี ปลายแหลม ผลสุกมีเนื้อสีแดงส้ม

ธาตุอาหารหลักที่มะก๋วยเทศต้องการ

ประโยชน์ของมะก๋วยเทศ

มะละกอเป็นไม้ผลที่คนไทยนิยมกิน ยอดอ่อนดองกินได้
ผลดิบนำมาปรุงอาหาร ใช้ปรุงส้มตำ แกงส้ม แกงเหลือง แกงอ่อม ผัดไข่ ต้มจิ้มน้ำพริก ผลสุกกินสด น้ำมีรสชาติหวานหอม มีวิตามินเอและแคลเซียมสูง

นอกจากจะมีการกินภายในประเทศแล้วปัจจุบันยังมีการส่งมะละกอไปจำหน่ายตลาดต่างประเทศอีกด้วย พันธุ์ในประเทศใช้กินผลสุกที่ได้รับความนิยมคือพันธุ์แขกดำ ปัจจุบันมีการพัฒนาพันธุ์ครั่งใช้กินดิบเก็บได้นาน เนื้อกรอบ ตำส้มตำได้รสชาติดี

มะละกอมีไขมันอิ่มตัว คอเลสเตอรอล และเกลือโซเดียมต่ำ เป็นแหล่งที่ดีของเส้นใยอาหาร ธาตุโพแทสเซียม วิตามินเอ ซี และโฟเลต แต่ร้อยละ 92 ของพลังงานจากมะละกอสุกมาจากคาร์โบไฮเดรต ผู้ที่ควบคุมอาหารแป้งและน้ำตาลจึงไม่ควรกินมะละกอมากเกินไป

สีแดงอมส้มที่พบในมะละกอสุกแสดงว่า มะละกอสุกมีสารไลโคพีนซึ่งเป็นสารช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากอีกด้วย

มะละกอสุกอุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ แคโรทีน วิตามินซี สารฟลาโวนอยด์ สารโฟเลต กรดแพนโทเทนิก ธาตุโพแทสเซียม แมกนีเซียม และเส้นใยอาหาร สารอาหารเหล่านี้บำรุงสุขภาพของระบบหัวใจและหลอดเลือด และป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่อีก ด้วย นอกจากนี้มะละกอมีเอนไซม์ปาเปน สามารถนำมาใช้ด้านการแพทย์เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บทางการกีฬา

สรรพคุณทางยาของมะก๋วยเทศ

  • ช่วยต้านมะเร็ง
  • ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี
  • บรรเทาอาการท้องผูก
  • ป้องกันอาการตับโต เป็นยาบำรุงหัวใจ ตับ และสมอง
  • ช่วยกระตุ้นให้คุณแม่ มีน้ำนมเพิ่มมากขึ้น
  • ป้องกันโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ป้องกันการติดเชื้อจากจุลินทรีย์ที่อยู่ภายในลำไส้

คุณค่าทางโภชนาการของมะก๋วยเทศ

การแปรรูปของมะก๋วยเทศ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10892&SystemType=BEDO
https://mcpswis.mcp.ac.th
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment