ปอเลี้ยงฝ้าย เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องมือและเฟอร์นิเจอร์

ปอเลี้ยงฝ้าย

ชื่ออื่นๆ : ซ้อเสี้ยน, ปอเลียง, ปอเลียงฝ้าย, ยาบเลียง (ภาคเหนือ); เลียง (ภาคกลาง); เลียงขาว, เลียงน้อย, เลียงฝ้าย (ภาคเหนือ); สักกะวัง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ต้นกำเนิด : ในไทยพบแทบทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ ขึ้นตามชายป่า ความสูงถึงประมาณ 1200 เมตร

ชื่อสามัญ : Salmon wood

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eriolaena candollei Wall.

ชื่อวงศ์ : Malvaceae

ลักษณะของปอเลี้ยงฝ้าย

ต้น ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 ม. หูใบรูปแถบขนาดเล็ก ร่วงเร็ว

ใบ ใบเรียงเวียน รูปไข่กว้างหรือรูปหัวใจ ยาว 6–16 ซม. ปลายแหลมหรือแหลมยาว ขอบจักฟันเลื่อยหรือจักมน แผ่นใบมีขนรูปดาวละเอียดประปรายด้านบน ด้านล่างหนาแน่น ก้านใบยาว 3–12 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจุก ยาวได้ถึง 20 ซม. ริ้วประดับมี 3–5 อัน จักชายครุยคล้ายขนนก ยาว 1.3–3 ซม. มีขนหนาแน่น กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปใบหอก ยาว 1.5–2.5 ซม. ด้านนอกมีขนหนาแน่น

ปอเลี้ยงฝ้าย
ปอเลี้ยงฝ้าย ใบรูปหัวใจ ขอบจักฟันเลื่อย มีขนละเอียด

ดอก ดอกสีครีมเหลือง มี 5 กลีบ รูปขอบขนาน ยาว 1.5–2.5 ซม. โคนเรียวแคบเป็นก้านกลีบหนา โค้งงอกลับ ก้านเกสรเพศผู้เชื่อมติดกลุ่มเดียวเป็นหลอด เกสรเพศผู้จำนวนมาก หุ้มเกสรเพศเมีย ก้านเกสรเพศเมียยาว 1.5–2.5 ซม. ช่วงล่างมีขน ยอดเกสรแยกเป็น 7–10 แฉก บิดพับงอ

ผล ผลแห้งแตกเป็น 7–10 ส่วน ปลายแหลม ยาว 4–6 ซม. ก้านหนา ยาว 1–3 ซม. เมล็ดจำนวนมาก ปลายมีปีก ยาว 1–2 ซม. รวมปีก

ดอกปอเลี้ยงฝ้าย
ดอกปอเลี้ยงฝ้าย ดอกสีเหลือง

การขยายพันธุ์ของปอเลี้ยงฝ้าย

ใช้เมล็ด/ใช้ขยายพันธุ์โดยเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ปอเลี้ยงฝ้ายต้องการ

ประโยชน์ของปอเลี้ยงฝ้าย

เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องมือ และเฟอร์นิเจอร์

สรรพคุณทางยาของปอเลี้ยงฝ้าย

คุณค่าทางโภชนาการของปอเลี้ยงฝ้าย

การแปรรูปของปอเลี้ยงฝ้าย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10218&SystemType=BEDO
https://www.dnp.go.th

Add a Comment