ปันแถ ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักสด-เป็นไม้ให้ร่มเงาและปรับปรุงดินสูง

ปันแถ

ชื่ออื่นๆ : กระบุง (ชอง-จันทบุรี) โคน้ำ (ราชบุรี) จะแข, ซะแข (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ตังแข (ราชบุรี) ติแข (เลย) แถ (ภาคเหนือ) แทงแข (อุตรดิตถ์) นางแหง่ (กาญจนบุรี) ปันแข, ปันแถ (ภาคเหนือ) โปลตาสู่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) พญารากขาว (อุตรดิตถ์) พฤกษ์ (กาญจนบุรี) สะแข (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ต้นกำเนิด : –

ชื่อสามัญ : Potka siris

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Albizia lucidior ( Steud. ) I.C.Nielsen

ชื่อวงศ์ : MIMOSACEAE

ลักษณะของปันแถ

ต้น ไม้ยืนต้นสูงได้ถึง 40 เมตร

ใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ยาวได้ถึง 12 ซม. หน้าใบสีเขียวเข้ม ใบประกอบย่อย 1–3 คู่ ยาว 2–13 ซม. มีต่อมบนแกนใบประกอบและใบประกอบย่อย ใบย่อย 2–7 คู่ รูปไข่หรือรูปไข่กลับ หรือแกมรูปขอบขนาน เบี้ยว ยาว 3.5–15 ซม. ก้านใบย่อยยาวประมาณ 3 มม.

ดอก เป็นช่อสีเหลืองอ่อน ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น แยกแขนง แต่ละช่อกระจุกมี 10–15 ดอก ดอกวงนอกขนาดเล็กกว่าวงใน ก้านดอกยาวประมาณ 2 มม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีขนละเอียด หลอดกลีบเลี้ยงยาว 1.5–5 มม. หลอดกลีบดอกยาว 4.5–8 มม. กลีบรูปไข่หรือแกมรูปขอบขนาน ยาว 1.5–4 มม. ก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวเท่า ๆ หลอดกลีบเลี้ยง รังไข่เกลี้ยง มีก้านสั้น ๆ

ผล ฝักรูปแถบ แบน ยาว 10–30 ซม. แห้งแตก มีได้ถึง 10 เมล็ด เส้นผ่านศูนย์กลาง 8–9 มม.

ต้นปันแถ
ต้นปันแถ ไม้ต้นสูง
ใบปันแถ
ใบปันแถ ใบสีเขียวเข้ม ใบประกอบแบบขนนก ใบรูปไข่รี

การขยายพันธุ์ของปันแถ

การใช้เมล็ด, การปักชำกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่ปันแถต้องการ

ประโยชน์ของปันแถ

  • ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักสด หรือลวก รับประทานกับน้ำพริก
  • เปลือกไม้ นำมาทุบ แช่น้ำใช้แทนสบู่(กะเหรี่ยงแดง)
  • เป็นไม้ให้ร่มเงาและปรับปรุงดินสูง จึงเหมาะการเก็บรักษาไว้สำหรับการเปิดพื้นที่เพื่อทำการเกษตร
ดอกปันแถ
ดอกปันแถ ดอกสีเหลือง ดอกออกเป็นช่อกระจุกแน่นตรงปลายยอด

สรรพคุณทางยาของปันแถ

คุณค่าทางโภชนาการของปันแถ

การแปรรูปของปันแถ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10064&SystemType=BEDO
http://area-based.lpru.ac.th
https://www.flickr.com

Add a Comment