ปาโลแซนโตส ไม้ประดับให้ร่มเงา

ปาโลแซนโตส

ชื่ออื่นๆ : แอ็ดวูด, ปาโลแซนโตส, ปาโลซานโตส

ต้นกำเนิด : อเมริกาใต้

ชื่อสามัญ : Long John Ant tree,  Palozantos

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Triplaris cumingiana Fisch. & C.A.Mey.ex C.A.Mey.

ชื่อวงศ์ :  POLYGONACEAE

ลักษณะของปาโลแซนโตส

ต้น  ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-20 เมตร ขนาดทรงพุ่ม 5-7 เมตร ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่ม ทรงกระบอก เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อน หลุดล่อนเป็นแผ่นหรือสะเก็ดขนาดใหญ่ โดยม้วนเข้าทางด้านใน

ต้นปาโลแซนโตส
ต้นปาโลแซนโตสเปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อน หลุดล่อนเป็นแผ่นหรือสะเก็ดขนาดใหญ่

ใบ  ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 5-10 เซนติเมตร ยาว 15-25 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ใบอ่อนมีปลอกสีชมพูอมเขียวหุ้ม ปลอกจะหลุดไปเมื่อใบคลี่ออก

ใบปาโลแซนโตส
ใบปาโลแซนโตส ใบรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม

ดอก  ดอกเพศผู้และเพศเมียแยกกันอยู่คนละต้น ต้นเพศเมียจะออกดอกเป็นช่อยาวตามกิ่งหรือที่ปลายกิ่ง ดอกเพศเมีย กลีบดอกยาวคล้ายปีก สีแดงสด ส่วนต้นเพศผู้ออกดอกเป็นช่อสีเขียว ออกดอกช่วง กันยายน มกราคม-กุมภาพันธ์

ดอกปาโลแซนโตสเพศผู้
ดอกปาโลแซนโตสเพศผู้ ออกเป็นช่อสีเขียว
ดอกปาโลแซนโตสเพศเมีย
ดอกปาโลแซนโตสเพศเมีย กลีบดอกยาวคล้ายปีก สีแดงสด

ผล  ดอกเพศเมียแม้ไม่ได้รับการผสมก็สามารถติดผลได้ ผลยังคงมีกลีบดอกสีแดงติดอยู่ ผลรูปรี ขนาด 1-2 ซม.มี 3 ปีก ผลแก่สีแดงอมชมพู ช่วงเวลาออกดอก กุมภาพันธ์-มีนาคม

การขยายพันธุ์ของปาโลแซนโตส

การเพาะเมล็ด, การปักชำ, การตอนกิ่งและทาบกิ่ง

นิยมปลูกต้นเพศเมีย เพราะให้ดอกสีแดงสด

ธาตุอาหารหลักที่ปาโลแซนโตสต้องการ

ปลูกในที่มีแสงแดด

ประโยชน์ของปาโลแซนโตส

ปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา

สรรพคุณทางยาของปาโลแซนโตส

คุณค่าทางโภชนาการของปาโลแซนโตส

การแปรรูปของปาโลแซนโตส

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9509&SystemType=BEDO
www.forest.go.th, www.flickr.com

One Comment

Add a Comment