ผักกระเฉด ยอดอ่อน ใบ และลำต้น นำมาปรุงเป็นอาหาร

ผักกระเฉด

ชื่ออื่นๆ : ผักหละหนอง (แม่ฮ่องสอน), ผักกระเสดน้ำ (ยโสธร, อุดรธานี, ภาคอีสาน), ผักกระเฉด ผักรู้นอน (ภาคกลาง), ผักหนอง (ภาคเหนือ), ผักฉีด (ภาคใต้)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Water mimosa

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Neptunia oleracea Lour.

ชื่อวงศ์ : MIMOSACEAE

ลักษณะของผักกระเฉด

ผักกระเฉด เป็นใบน้ำ และเป็นพืชล้มลุกอาศัยได้ทั้งในน้ำและบนบก ถ้าอาศัยอยู่ในน้ำมีลำต้นเป็นฟองน้ำ เพื่อพยุงตัวลอยในน้ำ หูใบรูปหัวใจเบี้ยว ยาว 0.4-0.8 ซม. ใบประกอบมี 2-4 ใบประกอบย่อย แกนกลางใบยาว 3.5-8 ซม. ก้านใบประกอบยาว 2-4 ซม. ไม่มีต่อม ใบย่อยมี 8-18 คู่ รูปขอบขนาน เบี้ยว ยาว 0.4-1 ซม. ปลายใบมนหรือแหลม มักมีติ่งที่ปลาย โคนใบตัด เส้นใบไม่ชัดเจน ก้านช่อดอกยาว 12-30 ซม. มี 30-50 ดอก ในแต่ละช่อ ส่วนไม่สามารถสืบพันธุ์ได้ กลีบเลี้ยงยาว 0.1-1.5 มม. กลีบดอกยาว 2-3.5 มม. เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันรูปเส้นด้าย ยาว 0.7-1.5 ซม. ดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงยาว 2-3 มม. กลีบดอกรูปรี ปลายแหลม ยาว 3-4.5 มม. เกสรเพศผู้ยาว 0.6-0.9 ซม. รังไข่ยาวได้ประมาณ 2 มม. เกลี้ยง มีก้าน ผลเป็นฝักรูปรี ยาว 2-3 ซม. เมล็ด 4-8 เมล็ด รูปไข่ ยาว 0.4-0.5 ซม. พบได้ตามห้วย หนองและลำคลอง นิยมปลูกเป็นผักเพื่อรับประทานหรือเพื่อการค้า

ผักกระเฉด
ลำต้นเป็นเถากลม เนื้อนิ่ม ใบจะคล้ายกับใบกระถิน

การขยายพันธุ์ของผักกระเฉด

ใช้กิ่ง/ลำต้น/เพาะเมล็ด และ เถาแก่ที่มีราก
วิธีการปลูก/ระยะปลูก
คัดเลือกยอดผักกระเฉดที่มีความสมบูรณ์จากแปลงพันธุ์ นำมามัดรวมกันให้ได้กำละ 10-15 ยอด นำยอดที่มัดรวมกันแล้วผูกกับหลักไม้ไผ่ นำหลักไม้ไผ่ที่มียอดผักกระเฉดผูกติดอยู่ไปปักในแปลงที่จะทำชะลูดน้ำ ปักให้จมน้ำลึกประมาณ 1.5 เมตร ระยะห่างระหว่างหลักไม้ไผ่ประมาณ 50-60 ซม. ทิ้งไว้ 2-3 คืน โดยปักให้ห่างจากพื้นดินประมาณ 20 ซม. ผักกระเฉดมีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อน ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ขยายพันธุ์โดยการปักดำเถาส่วนที่ใช้รับประทานคือ ยอด ใบ และลำต้นอ่อน

ธาตุอาหารหลักที่ผักกระเฉดต้องการ

ประโยชน์ของผักกระเฉด

ผักกระเฉดยอดอ่อน ใบ และลำต้นรสมันเย็น กินได้ทั้งสุกและดิบหรือปรุงเป็นอาหารอื่นๆ ได้หลากหลาย เช่น เป็นผักจิ้มน้ำพริก ผัดน้ำมัน แกงส้ม กินกับขนมจีนน้ำพริก น้ำยา ยำผักกระเฉด หั่นฝอยทอดกับไข่

สรรพคุณทางยาของผักกระเฉด

. ช่วยบำรุงร่างกายและดับพิษ
2. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ
3. กระเฉดมีฤทธิ์เป็นยาเย็น จึงช่วยดับพิษร้อนได้เป็นอย่างดี
4. ผักกระเฉดมีสรรพคุณช่วยแก้พิษไข้
5. ช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน ด้วยการนำผักกระเฉดมาตำผสมกับเหล้า แล้วหยอดในบริเวณฟันที่มีอาการปวด
6. ช่วยขับเสมหะ
7. ช่วยขับลมในกระเพาะ
8. ช่วยรักษาโรคกามโรค
9. ช่วยแก้อาการปวดแสบปวดร้อน
10. ช่วยถอนพิษยาเบื่อยาเมา

คุณค่าทางโภชนาการของผักกระเฉด

คุณค่าทางโภชนาการของผักกระเฉด 100 กรัม
ธาตุแคลเซียม 123 มิลลิกรัม  เส้นใย ธาตุเหล็ก ธาตุฟอสฟอรัส วิตามินเอ เบตาแคโรทีน วิตามินบี 3 วิตามินซี

การแปรรูปของผักกระเฉด

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11149&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment