ผักกระโดน ผักพื้นบ้าน ยอดอ่อนมีรสเปรี้ยวปนฝาด

ผักกระโดน

ชื่ออื่นๆ : จิด(ภาคกลาง),ผักกระโดนำ(อุดรธานี, สกลนคร,หนองคาย,ร้อยเอ็ด),กระโดนทุ่ง,กระโดนน้ำ (หนองคาย),จิกนา(ภาคใต้),ใบตอง(เหนือ),เรียง(เขมร)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ผักกระโดน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Careya arborea Roxb.

ชื่อวงศ์ : BARRINGTONIACEAE

ลักษณะของผักกระโดน

กระโดนน้ำ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 8-17 เมตร ผลัดใบแต่ผลิใบใหม่เร็ว ทรงพุ่มแผ่กว้าง เปลือกสีน้ำตาลเข้มน้ำตาลแดงหนาและหยาบ ปลายกิ่งมักจะลู่ลง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับ เห็นเป็นกลุ่มอยู่ตอนใกล้ปลายกิ่ง ใบรูปรี รูปหอก กลีบรูปไข่กว้างประมาณ 2.5-8.5 ซม. ยาวประมาณ 5-16 ซม. ปลายใบมนทู่ เว้าเล็กน้อยหรือเป็นกิ่งเล็กๆ ขอบใบหยิก โคนใบแหลม ดอกเป็นดอกช่อ ออกยาวห้อยย้อยลงที่ปลายกิ่ง สีแดงสดหรือแดงเรื่อๆ ช่อดอกอาจยาวได้ถึง 40 ซม. มีกลิ่นหอมอ่อนๆ กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 4 กลีบ สีชมพู เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก ส่วนก้านเกสรยาว สีแดงสดเห็นเด่นชัดเรียงเป็นชั้นๆ 3 ชั้น โดยมีโคนเชื่อมติดกันและเชื่อมติดกับกลีบดอก เกสรตัวผู้ร่วงง่าย ผลเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีสันเหลี่ยม เมล็ดเป็นรูปไข่ผิวเป็นร่อง 1 ผล มี 1 เมล็ด พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าหญ้าในที่ลุ่มพบมากตามริมฝั่งแม่น้ำลำคลองหนองบึง หรือที่ลุ่มน้ำท่วม

กระโดนน้ำ
กระโดนน้ำ ไม้ยืนต้นเรือนยอดเป็นพุ่มกลม ใบและกิ่งก้านหนาทึบ

การขยายพันธุ์ของผักกระโดน

-/-

ธาตุอาหารหลักที่ผักกระโดนต้องการ

ประโยชน์ของผักกระโดน

เปลือก ทำเชือกอุดร่องไม้ดีมาก เนื้อไม้ สร้างบ้านเรือน เรือขุด แจว พาย ครกกระเดื่อง

สรรพคุณทางยาของผักกระโดน

ใบ ใช้เป็นยาเบื่อปลา เปลือกต้นและผล เป็นยาฝาดสมาน ดอก บำรุงร่างกาย แก้หวัด ผล ช่วยย่อยอาหาร เมล็ด เป็นยาแก้พิษ เปลือกต้น แก้พิษงู สมานแผลแก้เคล็ดเมื่อยตามร่างกาย ใบ ขยี้รักษาแผลสด ดอก บำรุงสตรีหลังคลอดบุตร เปลือก ทำเชือกอุดร่องไม้ดีมาก เนื้อไม้ สร้างบ้านเรือน เรือขุด แจว พาย ครกกระเดื่อง ตัวเกวียน และ เพลาเกวียนทนทานมาก

คุณค่าทางโภชนาการของผักกระโดน

การแปรรูปของผักกระโดน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9982&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment