ผักกะออม
ชื่ออื่นๆ : ผักพา (ภาคเหนือ), จุ้ยหู่โย้ง (จีนแต้จิ๋ว), สุ่ยฝูโหยง (จีนกลาง), ผักกะแยง แขยง คะแยง ผักกะออม มะออม ผักลืมผัว ควันเข้าตา อีผวยผาย
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : ผักกะออม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Limnophila aromatica( Lamk.) Merr.
ชื่อวงศ์ : Scrophulariaceae
ลักษณะของผักกะออม
พืชล้มลุกฤดูเดียวหรือหลายฤดู สูง 30-70 เซนติเมตร อาจแตกกิ่งมากหรือไม่แตกกิ่ง ผิวเกลี้ยงหรือมีต่อม ลำต้นทอดเลื้อย แตกรากจากข้อ ใบเรียงตรงข้าม หรือเรียงรอบข้อชุดละ 3 ใบ ไม่มีก้าน โอบรอบข้อบางส่วน ใบรูปรี-รูปใบหอก กว้าง 0.3-1.5 เซนติเมตร ยาว 1-5 เซนติเมตร ขอบใบหยักมน หรือหยักฟันเลื่อย เส้นใบแบบขนนก ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ ก้านดอกยาว 0.5-2 เซนติเมตร อาจมีต่อม ใบประดับรูปแถบ-รูปใบหอก กลีบเลี้ยงยาว 4-6 มิลลิเมตร อาจมีขนปกคลุม กลีบดอกสีขาว ม่วง-น้ำเงิน หรือชมพู ยาว 1-1.3 เซนติเมตร มีต่อม ก้านชูเกสรเพศผู้ส่วนปลายพองออก ก้านชูเกสรเพศเมียสั้น แยกเป็น 2 แฉก ผลแก่แล้วแตก ทรงรี ขนาดประมาณ 6 มิลลิเมตร
การขยายพันธุ์ของผักกะออม
ใช้เมล็ด/เพาะเมล็ดปลูกได้เลย
ธาตุอาหารหลักที่ผักกะออมต้องการ
ประโยชน์ของผักกะออม
ทั้งต้นมีกลิ่นหอมฉุนและรสเผ็ดร้อน นิยมนำมาประกอบอาหาร พื้นบ้านหลากหลายชนิด เช่น แกงปลา อ่อมต่างๆ
สรรพคุณทางยาของผักกะออม
- ผักแขยงมีรสเผ็ดร้อน กลิ่นหอมฉุน ช่วยทำให้เจริญอาหาร ลดอาการเบื่ออาหาร (ทั้งต้น)
- หมอยาพื้นบ้านแนะนำว่าให้กินผักแขยงเพื่อป้องกันเส้นเลือดตีบตันและไข้ร้อนใน (ทั้งต้น)
- ใช้เป็นยาแก้ไข้ ลดไข้ ด้วยการใช้ต้นผักแขยงสด ๆ ประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน (ทั้งต้น)
- ตำรายาพื้นบ้านภาคอื่นๆ จะใช้ผักแขยงทั้งต้นและรากเป็นยาแก้ไข้หัวลม โดยใช้ในปริมาณตามต้องการ ก่อนนำมาใช้ให้ล้างน้ำให้สะอาดเสียก่อน แล้วนำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำกิน (ทั้งต้น)
- ทั้งต้นใช้เป็นยาขับลมและเป็นยาระบายท้อง (ทั้งต้น)
- ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ (ทั้งต้น)
- ใช้แก้อาการคัน กลาก และฝี ด้วยการใช้ต้นสดนำมาต้มกับน้ำใช้ชะล้างบริเวณที่เป็น หรือนำมาคั้นเอาน้ำทา หรือนำมาตำพอกบริเวณที่เป็น (ทั้งต้น)
- ทั้งต้นใช้ตำพอกแก้อาการบวม (ทั้งต้น)
- ใช้เป็นยาแก้พิษงู (สำหรับงูพิษที่ไม่มีพิษร้ายแรง) ด้วยการใช้ต้นสดๆ ประมาณ 15 กรัม นำมาตำให้ละเอียดผสมกับต้นฟ้าทะลายโจรสด ประมาณ 30 กรัม แล้วนำไปผสมกับน้ำส้มในปริมาณพอควร คั้นเอาน้ำดื่ม ส่วนกากที่เหลือให้เอามาพอกรอบๆ บาดแผล แต่อย่าพอกบนบาดแผล (ต้น)
- ทั้งต้นแห้งที่เก็บไว้นาน 1 ปี เมื่อนำมาต้มกับน้ำดื่ม จะมีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษเบื่อเมา (ทั้งต้น)
- ตำรายาพื้นบ้านทางภาคอีสานจะใช้ผักแขยงทั้งต้นเป็นยาช่วยขับน้ำนมของสตรี โดยจะนำมาใช้หลังจากการคลอดบุตรมาได้สักพักแล้ว เนื่องจากตอนคลอดบุตรใหม่ๆ ร่างกายของคุณแม่อาจยังไม่เข้าที่หรือยังอ่อนแอมาก กลิ่นของผักแขยงอาจทำให้เกิดอาการเวียนหัวหรือคลื่นไส้ได้ (ทั้งต้น)
- ทั้งต้นมีสรรพคุณช่วยแก้น้ำนมแม่ที่มีรสเปรี้ยว (ทั้งต้น)
คุณค่าทางโภชนาการของผักกะออม
การแปรรูปของผักกะออม
- ภายในต้นผักแขยงจะมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีกลิ่นคล้ายกับน้ำมันสน โดยมีอยู่ประมาณ 0.13% และยังประกอบไปด้วย d-limonene และ d-perillaldehyde
- น้ำมันหอมระเหยของผักแขยงมีฤทธิ์ต่อต้านจุลินทรีย์ มีคุณสมบัติเป็นยาฆ่าแมลง โดยเฉพาะแมลงในกลุ่มทำลายผลไม้
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12139&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com