ผักกะเดียง ยอดอ่อนรับประทานได้เป็นผัก มีรสขมอ่อน

ผักกะเดียง

ชื่ออื่นๆ : ผักกะเดียง (อุบลราชธานี) บีปลาไหล ไส้เอี่ยน บีเอี่ยน (สกลนคร) สะเดาดิน ปอผี

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hydrolea zeylanica (L.) Vahl

ชื่อวงศ์ : Hydrophyllaceae

ลักษณะของผักกะเดียง

ต้น ไม้ล้มลุก ทอดเลื้อยตามพื้นดิน ชูยอดตั้งขึ้น ลำต้นกลมเกลี้ยง แข็ง สูงประมาณ 10-100 เซนติเมตร มีรากออกตามข้อ ลำต้นเรียบหรือมีขนนุ่ม แตกแขนงมาก

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับเวียน รูปใบหอกถึงรูปรี โคนใบแหลม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ กว้าง 1-2.5 เซนติเมตร ยาว 1.5-5 เซนติเมตร ไม่มีหูใบ

ดอก ดอกช่อ แบบช่อกระจะแยกแขนง หรือดอกเดี่ยว ช่อดอกยาวได้ถึง 5 ซม. ออกที่ซอกใบและปลายยอด มีดอกย่อยสมบูรณ์เพศจำนวนมาก ดอกย่อยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 ซม. ก้านดอกย่อยยาว 1-3 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงสีเขียวรูปหอก มีขนนุ่ม วงกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ขนาด 4.5-8 มิลลิเมตร เรียงสลับกับกลีบดอก ปลายกลีบแหลมด้านนอกมีขนปกคลุม กลีบดอก 5 กลีบรูปไข่ กลีบดอกสีน้ำเงินอมม่วง หรือสีม่วงอมเขียว กลางดอกสีขาว ขนาด 3-5 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้ 5 อัน เรียงสลับกับกลีบดอก ก้านชูเกสรเพศเมีย 2 อัน อับเรณูสีแดงเข้ม

ผล ผลแห้งแตก ทรงรี กว้าง 2.5 มม. ยาว 5 มม.  ห่อด้วยกลีบรองดอก มีกลีบเลี้ยงติดคงทน

เมล็ด สีดำ รูปไข่แกมขอบขนาน ขนาด 0.3-0.4 มิลลิเมตร มีจำนวนมาก ชอบขึ้นบนดินชื้นและมีน้ำขัง ตามนาข้าว หรือแผ่คลุมผิวน้ำ พบตั้งแต่ระดับน้ำทะเล ไปจนถึง 1,000 เมตร ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ติดผลราวเดือนมกราคมถึงเมษายน

ผักกะเดียง
ผักกะเดียง ลำต้นชูตั้งขึ้น ดอกสีน้ำเงินอมม่วง

การขยายพันธุ์ของผักกะเดียง

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ผักกะเดียงต้องการ

ประโยชน์ของผักกะเดียง

ยอดอ่อนรับประทานได้เป็นผัก มีรสขมอ่อนๆ

สรรพคุณทางยาของผักกะเดียง

  • ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม แก้ตาฟาง
  • ใบ เป็นยาพอก สำหรับฆ่าเชื้อ และสมานแผลพุพอง แผลอักเสบ
  • ตำราไทย ใช้ต้นสดต้ม 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ ตับ แก้เบาหวาน แก้ไข้มาลาเรีย  คนคลอดบุตรใหม่ ไม่ควรรับประทาน  เพราะจะทำให้น้ำนมขม

คุณค่าทางโภชนาการของผักกะเดียง

การแปรรูปของผักกะเดียง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9568&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment