ผักกะแยง คะแยง ไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน เป็นผักพื้นบ้านของภาคอีสาน จัดเป็นวัชพืชในนาข้าว

ผักกะแยง คะแยง

ชื่ออื่นๆ : ผักกะแยง, แขยง, คะแยง, ผักลืมผัว, ควันเข้าตา, อีผวยผาย,  กะออม, มะออม, กะแยง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) กะแยงแดง (อุบลราชธานี) ผักพา (เหนือ)

ต้นกำเนิด : ผักพื้นบ้านของภาคอีสาน

ชื่อสามัญ : ผักแขยง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Limnophila aromatica (Lam.) Merr.

ชื่อวงศ์ : SCROPHULARIACEAE

ลักษณะของผักกะแยง คะแยง

ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน เป็นพืชฤดูเดียวหรือหลายฤดู และจัดเป็นวัชพืชในนาข้าว ลำต้นกลมกลวงและเป็นข้อๆ และมีความสูงได้ประมาณ 30-70 เซนติเมตร อาจแตกกิ่งมากหรือไม่แตกกิ่ง ลำต้นทอดเลื้อย ผิวเกลี้ยงหรือมีต่อม แตกรากจากข้อ

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ไปตามข้อทุกข้อตลอดลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบห่อติดกับลำต้น ส่วนขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-15 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1-5 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว เส้นใบเป็นแบบขนนก ไม่มีก้านใบ

ดอก ออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ แต่จะออกดอกเป็นช่อกระจะตรงส่วนยอดของต้น ลักษณะของดอกเป็นรูปกรวย ยาวประมาณ 0.5 นิ้ว ปลายบานออกเล็กน้อย แยกออกเป็นกลีบ 4 กลีบ กลีบดอกเป็นสีแดง สีม่วง สีขาว หรือสีชมพูอ่อน ยาวประมาณ 1-1.3 เซนติเมตร ก้านชูเกสรเพศผู้ส่วนปลายพองออก ส่วนก้านชูเกสรเพศเมียสั้นแยกเป็นแฉก 2 แฉก

ผล ออกผลเป็นฝักยาวรี เมื่อแก่จะแตกออก ขนาดประมาณ 6 มิลลิเมตร

ผักแขยง
ผักแขยง ลำต้นกลมกลวงและเป็นข้อ

การขยายพันธุ์ของผักกะแยง คะแยง

ใช้เมล็ด/ต้นอ่อน
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม พบขึ้นเองตามคันนา นาข้าว ตามบริเวณที่ชื้นแฉะและริมคูน้ำ ชอบขึ้นบริเวณที่มีน้ำขังเล็กน้อย

ธาตุอาหารหลักที่ผักกะแยง คะแยงต้องการ

ประโยชน์ของผักกะแยง คะแยง

ผักกะแยงเป็นเป็นวัชพืชในนาข้าว ทั้งต้นมีกลิ่นหอมฉุน เผ็ดร้อนชาวอีสานใช้ใส่ในแกงต้มปลา อ่อมต่างๆ มีกลิ่นหอม ช่วยดับกลิ่นคาว และเป็นพืชสมุนไพร

ส่วนที่ใช้บริโภค ยอดอ่อน ใบอ่อน ลำต้น

  • การปรุงอาหาร ทั้งต้น รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก ส้มตำ ลาบ ก้อย ซุปหน่อไม้ หรือนำไปเป็นเครื่องปรุงรสและแต่งกลิ่นสำหรับ แกงอ่อม แกงหน่อไม้ ต้มส้ม และสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่างเช่น ต้มยำ หมกปลา อื่นๆตามแต่คนชอบโดยเฉพาะแกงปลาช่อนบ้านเรา เนื่องจากผักชนิดนี้มีกลิ่นหอม ฉุน สามารถดับกลิ่นคาวและเพิ่มรสชาติให้อาหารอร่อยได้
  • ลักษณะพิเศษ ผักแขยง รสเผ็ดร้อน กลิ่นหอมฉุน ช่วยเจริญอาหาร ขับลม
ดอกผักแขยง
ดอกผักแขยง ดอกเป็นรูปกรวย กลีบดอกสีม่วงขาว

สรรพคุณทางยาของผักกะแยง คะแยง

  • ใช้เป็นยาแก้ไข้ ลดไข้ ด้วยการใช้ต้นผักแขยงสด ๆ ประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน (ทั้งต้น)
  • ใช้เป็นยาแก้พิษงู (สำหรับงูพิษที่ไม่มีพิษร้ายแรง) ด้วยการใช้ต้นสดๆ ประมาณ 15 กรัม นำมาตำให้ละเอียดผสมกับต้นฟ้าทะลายโจรสด ประมาณ 30 กรัม แล้วนำไปผสมกับน้ำส้มในปริมาณพอควร คั้นเอาน้ำดื่ม ส่วนกากที่เหลือให้เอามาพอกรอบๆ บาดแผล แต่อย่าพอกบนบาดแผล (ต้น)
  • ทั้งต้น เป็นยาขับน้ำนม ขับลม และเป็นยาระบายท้อง น้ำคั้นจากต้นใช้แก้ไข้ แก้คัน ฝี และกลาก แก้อาการบวม เป็นยาระบายอ่อนๆ ต้นแห้ง ที่เก็บไว้นาน 1 ปี ต้มน้ำดื่ม แก้พิษเบื่อเมา

ข้อควรระวัง หญิงมีครรภ์ห้ามรับประทาน ชาวอีสานเชื่อว่าหญิงมีครรภ์ รับประทานผักแขยงแล้วจะเกิดอาการผิดสำแดง

คุณค่าทางโภชนาการของผักกะแยง คะแยง

การแปรรูปของผักกะแยง คะแยง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11721&SystemType=BEDO
https://arit.kpru.ac.th
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment