ผักกุ่มน้ำ ใบอ่อนและดอกอ่อนรับประทานได้

ผักกุ่มน้ำ

ชื่ออื่นๆ : หาะเถาะ (กาญจนบุรี) อำเภอ (สุพรรณบุรี, ภาคตะวันตกเฉียงใต้) ผักกุ่ม, ก่าม, ผักก่าม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) รอถะ (ละว้า-เชียงใหม่, ภาคเหนือ) กุ่มน้ำ (ภาคกลาง) ด่อด้า (ปะหล่อง)

ต้นกำเนิด : มักพบได้ตามริมแม่น้ำ ข้างลำธาร หรือที่ชื้นแฉะ ในป่าเบญจพรรณ หรือพบได้ตามริมน้ำลำธารในป่าดิบแล้งและป่าผลัดใบที่มีความสูงระดับ 30-700 เมตร

ชื่อสามัญ : Crataeva

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Crateva religiosa G.Forst.

ชื่อวงศ์ : CAPPARACEAE

ลักษณะของผักกุ่มน้ำ

ต้น  เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 5-20 เมตรเปลือกต้นค่อนข้างเรียบ มีสีเทาจะผลัดใบร่วงหมดทั้งต้นเมื่อออกดอก

ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ แผ่นใบค่อนข้างหนา สีเขียวเป็นมัน ด้านล่างใบมีสีอ่อนกว่าด้านบน มีใบย่อย 3 ใบ ก้านใบประกอบมีความประมาณ 4-14 เซนติเมตร หูใบเล็ก ร่วงได้ง่าย ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปใบหอกหรือขอบขนาน มีความกว้างประมาณ 1.5-6.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 4.5-18 เซนติเมตร ปลายค่อย ๆ เรียวแหลม มีความยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร โคนสอบ ใบย่อยที่อยู่ด้านข้างโคนใบจะเบี้ยวเล็กน้อย ใบย่อยไม่มีก้าน หรือถ้ามีก็ยาวไม่เกิน 5 มิลลิเมตร ใบกุ่มน้ำมีเส้นแขนงของใบข้างละประมาณ 9-20 เส้น และอาจมีถึงข้างละ 22 เส้น เส้นใบสามารถมองเห็นได้ชัดจากด้านล่าง เมื่อใบแห้งจะมีสีค่อนข้างแดง

ดอก  ดอกเป็นช่อแบบกระจะถี่ ออกตามยอด หนึ่งช่อมีหลายดอก ก้านดอกยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายแหลม กว้างประมาณ 2 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 2-4 มิลลิเมตร กลีบดอกกุ่มน้ำมีสีขาว แล้วจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ใบมีลักษณะค่อนข้างกลมถึงรี มีความกว้างประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร ส่วนก้านชูอับเรณูจะมีความประมาณ 3.5-6.5 เซนติเมตร และอับเรณูจะยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ก้านชูเกสรตัวเมียจะยาวประมาณ 3.5-8 เซนติเมตร ดอกมีรังไข่เป็นรูปรีหรือรูปทรงกระบอก มีอยู่ 1 ช่อง มักออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน

ผล  ผลเป็นรูปกลมรี มีเปลือกหนา ผลหรือเปลือกผลมีสีนวลหรือสีเหลืองอมเทา เมื่อสุกจะเป็นสีเทา ผลแก่ผิวจะเรียบ ผลกว้างประมาณ 1.5-4.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร ก้านผลยาวประมาณ 8-13 เซนติเมตร ก้านหนาประมาณ 3-5 มิลลิเมตร ด้านในผลมีเมล็ดมาก

ต้นกุ่มน้ำ
ต้นกุ่มน้ำ เปลือกต้นค่อนข้างเรียบ มีสีเทา
ใบกุ่มน้ำ
ใบกุ่มน้ำ ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ แผ่นใบค่อนข้างหนา สีเขียวเป็นมัน

การขยายพันธุ์ของผักกุ่มน้ำ

การเพาะเมล็ด, การปักชำและการตอนกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่ผักกุ่มน้ำต้องการ

ประโยชน์ของผักกุ่มน้ำ

  1. ยอดอ่อนใช้ปรุงเป็นอาหารไว้รับประทานได้ ด้วยการนำมาดองน้ำเกลือตากแดด ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน แล้วค่อยนำไปปรุงเป็นอาหาร ด้วยวิธีการแกงหรือการผัดก็ได้ หรือจะใช้ดอกและใบอ่อนนำไปดองหรือต้ม ใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือจะไปปรุงเป็นอาหาร เช่น ทำอ่อม คล้ายกับแกงขี้เหล็กก็ได้
  2. เนื่องจากใบและดอกกุ่มน้ำมีความสวย จึงสามารถใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ โดยเหมาะสำหรับบ้านเรือนที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง และทนต่อน้ำท่วมขังได้ดี
  3. ต้นกุ่มน้ำเป็นไม้โตเร็ว มีรากลึกและแผ่กว้าง เหมาะสำหรับปลูกไว้ตามริมตลิ่งชายน้ำในแนวสูงกว่าระดับน้ำปกติในช่วงฤดูฝน หรือปลูกไว้ตามริมห้วยในพื้นที่ต้นน้ำของแม่น้ำสายหลัก จะสามารถช่วยลดการกัดเซาะริมตลิ่งได้เป็นอย่างดี และยังทนทานต่อน้ำท่วมขังอีกด้วย
  4. นอกจากปลูกต้นกุ่มไว้รับประทานเป็นอาหารและใช้เป็นยาสมุนไพรแล้ว ต้นกุ่มยังจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกกันในอดีต ด้วยเชื่อว่าจะทำให้ครอบครัวมีฐานะ มีเงินเป็นกลุ่มเป็นก้อนเหมือนชื่อของ
  5. ต้นกุ่ม
  • ไม้กุ่มน้ำเป็นไม้เนื้ออ่อน จึงสามารถนำมาใช้ในงานแกะสลักต่าง ๆ ได้ เช่น เครื่องดนตรี เป็นต้น
  • ลำต้นกุ่มน้ำสามารถนำมาใช้ทำเป็นไหข้าวได้ (คนเมือง)
  • ปริมาณมาก อาจเกิดอาการรุนแรงได้ภายใน 10-15 นาที แต่ถ้าหากใช้ในปริมาณเล็กน้อยจะมีสรรพคุณเป็นยาระบาย
ดอกกุ่มน้ำ
ดอกกุ่มน้ำ กลีบดอกมีสีขาว แล้วจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง

สรรพคุณทางยาของผักกุ่มน้ำ

  1. เปลือกต้นใช้ปรุงเป็นยาบำรุงร่างกาย (เปลือกต้น)
  2. แก่นใช้ต้มกับน้ำดื่มช่วยบำรุงกำลัง (แก่น)
  3. รากและเปลือกต้นกุ่มน้ำใช้เป็นยาบำรุงกำลังของสตรีได้
  4. รากใช้แช่น้ำกิน เป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย (ราก, ใบ)
  5. ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ใบ)
  6. ช่วยแก้กษัย แก้ในกองลม หรือต้มเป็นยาตัดลมในลำไส้ (เปลือกต้น)
  7. แก้ลมขึ้นเบื้องสูง (ใบ)
  8. ช่วยแก้ไข้ (ผล, ใบ) (เปลือกต้น)
  9. เปลือกต้นใช้เป็นยาช่วยแก้อาเจียน (เปลือกต้น)
  10. ดอกกุ่มบกมีรสเย็น ช่วยแก้อาการเจ็บในตา (ดอก)
  11. ช่วยแก้ลมทำให้เรอ (เปลือกต้น)
  12. ใบมีรสหอมขม ช่วยขับเหงื่อ (ใบ, เปลือกต้น)
  13. ช่วยแก้อาการเจ็บตา (ดอก)
  14. ช่วยแก้อาการเจ็บในลำคอ (ดอก)
  15. ช่วยแก้อาการสะอึก (ใบ) หรือจะใช้เปลือกต้นผสมกับเปลือกกุ่มบก เปลือกทองหลางใบมน ใช้ต้มเป็นน้ำดื่มแก้อาการก็ได้ (เปลือกต้น)
  16. รากช่วยแก้อาการปวดท้อง (ราก)
  17. เปลือกต้นมีรสขมหอม ช่วยขับผายลม หรือใช้เป็นยาขับลม ด้วยการใช้เปลือกต้นกุ่มน้ำผสมกับเปลือกกุ่มบก เปลือกทองหลางใบมน แล้วนำมาต้มน้ำดื่ม (เปลือกต้น,ใบ)
  18. ใบกุ่มน้ำใช้เป็นยาระบาย (ใบ,เปลือกต้น)
  19. ช่วยขับพยาธิ (ใบ,เปลือกต้น)
  20. ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร (ใบ,กระพี้)
  21. ช่วยแก้ริดสีดวงผอมแห้ง (เปลือกต้น)
  22. แก่นมีรสร้อน ช่วยแก้นิ่ว (แก่น)
  23. ช่วยขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ (เปลือกต้น)
  24. ช่วยขับน้ำดี (เปลือกต้น)
  25. ช่วยขับน้ำเหลืองเสียในร่างกาย (เปลือกต้น)
  26. รากช่วยขับหนอง (ราก)
  27. เปลือกต้นใช้เป็นยาช่วยระงับพิษที่ผิวหนัง (เปลือกต้น)
  28. ช่วยแก้อาการครั่นเนื้อครั่นตัว (ดอก)
  29. ช่วยแก้อาการปวดเส้น (ใบ)
  30. แก่นกุ่มบกใช้ต้มดื่มช่วยแก้อาการปวดเมื่อยได้ (แก่น)
  31. เปลือกต้นใช้ทำเป็นยาลูกกลอน ช่วยแก้อัมพฤกษ์ อัมพาตได้ (เปลือกต้น)
  32. ใบกุ่มน้ำแก้โรคไขข้ออักเสบ แก้อัมพาต (ใบ)
  33. ใบใช้เป็นยาทาภายนอก เป็นยาถูนวดให้เลือดมาเลี้ยงทั่วบริเวณที่นวด (ใบ)

คุณค่าทางโภชนาการของผักกุ่มน้ำ

คุณค่าทางโภชนาการ ผักกุ่มดอง รสเปรี้ยว

ใบผักกุ่มดอง 100 กรัม ให้พลังงาน 88 กิโลแคลอรี่

  • น้ำ 73.4 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 15.7 กรัม
  • โปรตีน 3.4 กรัม
  • ไขมัน 1.3 กรัม กาก 4.9 กรัม
  • แคลเซี่ยม 124 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม
  • เหล็ก 5.3 มิลลิกรัม
  • วิตามินเอ 6083 IU
  • วิตามินบีหนึ่ง 0.08 มิลลิกรัม
  • วิตามินบีสอง 0.25 มิลลิกรัม
  • ไนอาซีน 1.5 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 5 มิลลิกรัม

การแปรรูปของผักกุ่มน้ำ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9767&SystemType=BEDO
http:// ecoforest.phsmun.go.th
https://www.flickr.com

Add a Comment