ผักขี้หูด
ชื่ออื่นๆ : มะปึ้ก, ผักเปิ้ก
ต้นกำเนิด : พบได้ทางภาคเหนือ
ชื่อสามัญ : –
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Raphanus sativus L.
ชื่อวงศ์ : CRUCIFERAE
ลักษณะของผักขี้หูด
ต้น เป็นไม้ล้มลุกมีอายุ 1 ปี หรือ 2 ปี เป็นพืชที่มีผลเป็นฝัก เช่นเดียวกับถั่วแขก ถั่วฝักยาว เพียงแต่ฝักเล็กว่า สั้นกว่า มีดอกสวยงามมาก ลำต้นตั้งตรง มีขนแข็งปกคลุมเล็กน้อย ต้นมีความสูงได้ประมาณ 30-100 เซนติเมตร ลำต้นเป็นรูปทรงกลมหรือทรงกระบอก ส่วนกลางลำต้นจะกลวง ก้านใบแทงขี้นจากดิน โดยเป็นผักพื้นบ้านทางภาคเหนือ
ใบ ใบผักขี้หูด เป็นใบเดี่ยวสีเขียวอ่อน ออกเรียงสลับออกเป็นกระจุกที่ผิวดิน ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมรูปช้อน ใบอวบน้ำ ส่วนล่างของใบจะมีของใบที่เว้าหาเส้นกลางใบ ส่วนยอดสุดปลาย จะมนหรือแหลม ขอบใบหยัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร ผิวใบเรียบหรือมีขนเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร
ดอก ดอกผักขี้หูด ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกที่ปลายกิ่งหรือตามซอกใบ ช่อดอกยาวได้ประมาณ 10-50 เซนติเมตร มีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยมีขนาดเล็ก เป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงสีเขียว มี 4 กลีบ กลีบดอกมี 4 กลีบ สีม่วง สีม่วงอมชมพู หรือสีขาว ดอกมีขนาดกว้างประมาณ 8-10 มิลลิเมตร เมื่อต้นผักขี้หูดเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ก้านดอกจะแทงยอดขี้นมาจากกอต้นเป็นก้านยาว และจะมีดอกเต็มตลอดก้าน ตั้งแต่ยอดกิ่งถึงโคนกิ่ง โดยผักชนิดนี้จะออกดอกในช่วงเดือน มิถุนายน ถึงเดือนธันวาคม
ผล ผลผักขี้หูด หรือ ฝักขี้หูด ผลเป็นผลแห้งและแตกได้ ลักษณะของผลคล้ายฝักถั่ว มีขนาดเล็ก ฝักเป็น สีเขียวอ่อน ปลายฝักแหลม ฝักหยักเป็นคอดเว้าเป็นข้อๆ ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-15 เซนติเมตร ผนังด้านในของฝักจะอ่อนนุ่มคล้ายกับฟองน้ำ ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 2-10 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดกลมหรือค่อนข้างกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-5 มิลลิเมตร โดยผัก ชนิดนี้จะออกผลในช่วงเดือน กรกฎาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์
การขยายพันธุ์ของผักขี้หูด
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ผักขี้หูดต้องการ
ประโยชน์ของผักขี้หูด
ช่อดอกและผลอ่อน ใช้รับประทานสดกับนํ้าพริก หรือใส่แกงแค แกงผักขี้หูดใส่ไข่มดแดง แกงส้มกับปลาช่อน แกงส้มพริกสดใส่มะเขือเทศ แกงป่ากับหมูสามชั้น แกงผักขี้หูดกับแหนมใส่ไข่ นอกจากนี้ยังนิยมรับประทานผักขี้หูดเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริก หรือจะเป็นผักขี้หูดต้มจิ้มน้ำพริก
สรรพคุณทางยาของผักขี้หูด
- ใบ มีสรรพคุณช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อยและล้างพิษในลำไส้ได้เนื่องจากอุดมไปด้วยใยอาหาร ช่วยละลายนิ่ว
- ฝัก สามารถนำไปใช้เป็นยาสมุนไพรแก้หวัด
- ดอก มีสรรพคุณเป็นยาช่วยขับน้ำดี
นอกจากนี้ผักขี้หูด ยังจัดเป็นผักต้านชราอีกชนิดหนึ่งด้วยเนื่องจากมีสรรพคุณช่วยตั้งแต่ผิวพรรณ คอลลาเจนไปจนถึงการป้องกันมะเร็งได้ รวมทั้งหากนำผักขี้หูดไปหมักผสมกับอีเอ็ม (EM) ก็จะสามารถนำมาใช้เป็นยาไล่แมลงได้
คุณค่าทางโภชนาการของผักขี้หูด
ผักขี้หูดต่อ 100 กรัม ของส่วนที่รับประทานได้คือส่วนดอกและฝักอ่อนจะให้พลังงาน 15 แคลอรี่
โปรตีน 3.6 กรัม,
ไขมัน 0.1 กรัม,
ใยอาหาร 0.6 กรัม,
เถ้า 0.4 กรัม,
วิตามินเอ 772 หน่วยสากล,
วิตามินบี1 0.11 มิลลิกรัม,
วิตามินบี2 0.05 มิลลิกรัม,
วิตามินบี3 1.10 มิลลิกรัม,
วิตามินซี 125 มิลลิกรัม,
แคลเซียม 44 มิลลิกรัม,
ฟอสฟอรัส 35 มิลลิกรัม,
ธาตุเหล็ก 1.8 มิลลิกรัม
การแปรรูปของผักขี้หูด
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.uniserv.buu.ac.th/forum2/pop_printer_friendly.asp?TOPIC_ID=6263
https://www.flickr.com
One Comment