ผักหนอก
ชื่ออื่นๆ : ผักหนอก (ภาคใต้) กะเซดอมีเดาะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) บัวบกเขา (นครศรีธรรมราช) ผักแว่นเขา (ตราด) ผักหนอกตาย (เชียงใหม่) ผักหนอกป่า (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ผักหนอกช้าง
ต้นกำเนิด : พบทุกภาคตามป่าดิบ ป่าดิบแล้ง และในที่ชื้นแฉะ
ชื่อสามัญ : ผักหนอก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hydrocotyle javanica Thunb
ชื่อวงศ์ : APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE
ลักษณะของผักหนอก
ต้น ไม้ล้มลุก สูง 10-30 เซนติเมตร ลำต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน
ใบ ใบเดี่ยวแผ่กว้าง โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบหยัก 5-8 แฉก แผ่นใบมีขนปราย ก้านใบยาว 3-10 เซนติเมตร
ดอก ดอกสีขาวอมเขียว ออกเป็นช่อกลม ขนาด 4-6 มิลลิเมตร ดอกย่อยขนาดเล็ก มีใบประดับจำนวนมาก
ผล ผลแห้งอัดเป็นกระจุก สีเขียวเข้มถึงน้ำตาลแดง ผิวเรียบ รูปร่างค่อนข้างกลม ขนาด 1-2 มิลลิเมตร
การขยายพันธุ์ของผักหนอก
ปักชำ, เพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ผักหนอกต้องการ
ประโยชน์ของผักหนอก
ทั้งต้นต้มน้ำดื่มทำให้ชุ่มคอ แก้ช้ำในและใช้ตำพอกหรือคั้นน้ำรักษาแผลสดได้
สรรพคุณทางยาของผักหนอก
- ทั้งต้นใช้ผสมกับเปลือกต้นมะกอก หูเสือทั้งต้น สะระแหน่ทั้งต้น ฮางคาวทั้งต้น รากหญ้าคา และตาอ้อยดำ นำมาแช่กับน้ำหรือต้มกับน้ำดื่มเป็นยาเย็น แก้ไข้ชักในเด็ก (ทั้งต้น)
- ใบใช้ตำประคบแก้ไข้ (ใบ)
- ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มทำให้ชุ่มคอ (ทั้งต้น)
- ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ผักหนอกทั้งต้น นำมาต้มกับไก่และเนื้อในเมล็ดท้อนึ่งกินแก้อาการบวมจากโรคไต (ทั้งต้น)
- ชาวเขาเผ่าอีก้อจะใช้ผักหนอกทั้งต้น นำมาตำพอกหรือคั้นเอาน้ำทารักษาแผลสด แผลถลอก และใช้เป็นยาห้ามเลือด (ทั้งต้น)
- ทั้งต้นใช้ตำพอกแก้ช้ำใน (ทั้งต้น)
คุณค่าทางโภชนาการของผักหนอก
การแปรรูปของผักหนอก
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9992&SystemType=BEDO
www.arit.kpru.ac.th
www.biodiversity.forest.go.th
www.flickr.com