ผักหวานบ้าน ผักพื้นบ้านที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก

ผักหวานบ้าน

ชื่ออื่นๆ : ก้านตง, จ๊าผักหวาน (ภาคเหนือ); โถหลุ่ยกะนีเด๊าะ (กะเหรี่ยง -แม่ฮ่องสอน); นานาเซียม (มลายู-สตูล); ผักหวาน, ผักหวานบ้าน (ทั่วไป); ผักหวานใต้ใบ (สตูล); มะยมป่า (ประจวบคีรีขันธ์)

ต้นกำเนิด : พืชสมุนไพรที่พบได้ทั่วไป

ชื่อสามัญ : star gooseberry

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sauropus androgynus

ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE.

ลักษณะของผักหวานบ้าน

ต้น เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ลำต้นแข็งตั้งตรง เปลือกต้นขรุขระ สีน้ำตาล กิ่งอ่อนสีเขียวเข้ม ผิวเรียบ

ใบ ใบเป็นใบประกอบมีก้านใบยาวประมาณ 10-15 ซม. มีใบย่อยแตกเป็นคู่คล้ายขนนก ใบย่อมรูปกลม โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ สีเขียวเข้ม มีแถบสีขาวบริเวณกลางใบ

ดอก ดอกเดี่ยว ออกบริเวณซอกใบเรียงตามก้านใบ โดยมีใบปกอยู่ด้านบนขนาดเล็กคล้ายดอกพุทธา มี 2 ชนิด ดอกสีเขียวอมเหลือง และดอกสีน้ำตาลแดง

ผล ผลทรงกลมสีเขียวอ่อน เมื่อแก่เต็มที่มีสีขาวอมเหลือง ภายในผลแบ่งเป็น 6 พูๆ ละ 1 เมล็ด

เมล็ด เมล็ดมีรูปร่างกลม เปลือกเมล็ดสีน้ำตาลเข้าหนาและแข็ง

ต้นผักหวานบ้าน
ต้นผักหวานบ้าน ใบเป็นใบประกอบมีก้านใบยาวสีเขียวเข้ม

การขยายพันธุ์ของผักหวานบ้าน

การเพาะเมล็ด หรือ กิ่ง ให้นำกิ่งที่แก่จัด ไปแช่น้ำให้ชุ่มไว้ประมาณ มีรากงอกออกมา ก่อนนำปักลงดิน

ธาตุอาหารหลักที่ผักหวานบ้านต้องการ

ประโยชน์ของผักหวานบ้าน

  • ใบและยอดอ่อนเมื่อนำมาลวก ต้ม หรือนึ่ง กินเป็นผักจิ้มน้ำพริก ลาบ ปลานึ่ง หรือจะนำมาประกอบอาหาร หรือใช้เพื่อเพิ่มรสชาติให้อาหารมีรสหวานตามธรรมชาติ เช่น แกงเลียง แกงอ่อม แกงส้ม แกงจืด แกงกับหมู แกงกับปลา แกงเขียวหวาน แกงกะทิสด แกงใส่ไข่มดแดง แกงเห็ด ผัดน้ำมันหอย ยำผักหวาน
  • สารสกัดจากใบและลำต้นของผักหวานบ้านด้วยแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ HIV-1 reverse transcriptase เล็กน้อย แต่ไม่มีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งในหนูทดลอง
    – ใบผักหวานบ้านมีสาร Papaverine หากกินมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะและท้องผูกได้
    – สารสกัดด้วยเอทานอลของผักหวานบ้านมีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาธี (Allelopathy) สามารถยับยั้งการเจริญของคะน้าได้

เป็นผักพื้นเมืองที่เป็นไม้พุ่มขนาดกลางชนิดหนึ่งถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญตัวหนึ่ง เนื่องจากเป็นผักที่มีรสชาติอร่อยและปลูกง่ายจึงเป็นที่นิยมของตลาด ลักษณะของใบผักหวานบ้านนั้นมีส่วนที่คล้ายใบมะยม แต่ว่าแตกต่างจากใบมะยมตรงที่มันจะมีนวลสีขาว ๆ บนหน้าใบ มันเป็นผักชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก

ข้อควรระวังในการใช้ผักหวานบ้าน

  • ไม่ควรนำผักหวานบ้านมารับประทานแบบสด ๆ ในจำนวนมาก เนื่องจากผักชนิดนี้มีสาร Papaverine ที่เป็นพิษต่อปอด ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ และท้องผูกได้ และยังมีรายงานว่าผู้ที่เป็นโรคเนื้อเยื่อปอดถูกทำลายชนิด bronchiolitis obliterans (SABO) syndrome นั้น สาเหตุมาจากการรับประทานผักหวานเป็นจำนวนมากเพื่อต้องการลดน้ำหนัก
ผลผักหวานบ้าน
ผลผักหวานบ้าน ผลทรงกลมสีเขียวอ่อน

สรรพคุณทางยาของผักหวานบ้าน

  • ราก สรรพคุณระงับความร้อนถอนพิษไข้ซ้ำไข้กลับเนื่องจากการรับรับประทานของแสลง หมอพื้นบ้านภาคกลางใช้ฝนทาแก้โรคคางทูม และหมอพื้นบ้านภาคเหนือ ใช้รากผักหวานบ้านแก่นในของฝักข้าวโพด รากมะแว้ง และรากผักดีด ฝนกับน้ำอย่างละเท่า ๆ กันให้เด็กหรือผู้ใหญ่รับประทานแก้ไข้ ไข้หัด ไข้อีสุกอีใส
  • ใบ ปรุงเป็นยาเขียวใบและราก ตำให้ละเอียดใช้พอกฝีราก ต้มเป็นยาแก้ไข้

คุณค่าทางโภชนาการของผักหวานบ้าน

การแปรรูปของผักหวานบ้าน

นำไปแปรรูปเป็นน้ำปั่นผักหวาน, ชาผักหวาน เป็นต้น

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11086&SystemType=BEDO
https://th.wikipedia.org
https://www.wisdomking.or.th
https://www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment