ผักหวาน ผักพื้นเมือง ปลูกง่าย มีกินทั้งปี เด็ดยอดอ่อนมาทำแกง

ผักหวาน ผักพื้นเมือง ปลูกง่าย มีกินทั้งปี เด็ดยอดอ่อนมาทำแกง

ชื่ออื่นๆ : ก้านตรง, จ๊าผักหวาน, โถหลุ่ยกะนิ, เต๊าะ, นานาเซียม, ผักหวานใต้ใบ และมะยมป่า

ต้นกำเนิด : เอเชียตอนใต้

ชื่อสามัญ : Pak-wan Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melientha suavis Pierre

ชื่อวงศ์ : opiliaceae

ชื่อภาษาอังกฤษ : Star gooseberry

ผักหวาน ผักพื้นเมือง ปลูกง่าย มีกินทั้งปี เด็ดยอดอ่อนมาทำแกง
ผักหวาน

ลักษณะของผักหวาน

ผักหวานป่า เป็นพืชในวงศ์ Opiliaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Melientha suavis Pierre ชาวบ้านแถวจังหวัดสุรินทร์เรียก ผักหวานชื่อที่เรียกกันทั่วไป คือ ผักหวาน ซึ่งอาจสับสนกับผักหวานบ้านที่จะกล่าวถึงในตอนท้าย ผักหวานป่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมดร แค่ที่พบโดยทั่วไปมักมีลักษะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่ง เด็ดยอด เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค ใบของผักหวานป่าเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ใบอ่อนรูปร่างแคบรี ปลายใบแหลม สีเขียวอมเหลือง ใบแก่เต็มที่รูปร่างรีกว้าง ถึงรูปไข่หรือรูปไข่กลับ ใบสีเขียวเข้ม เนื้อใบกรอบ ขอบใบเรียบ ปลายใบมน ขนาดของใบประมาณ 2.5-5 ซม. x 6- 12 ซม. ก้านใบสั้น ช่อดอกแตกกิ่งก้านคล้ายช่อดอกมะม่วงหรือลำใย และเกิดตามกิ่งแก่ หรือตามลำต้นที่ใบร่วงแล้ว ดอกมีขนาดเล็กเป็นตุ่มสีเขียวอัดกันแน่นเป็นกระจุก ขณะที่ยังอ่อนอยู่ ผลเป็นผลเดี่ยว ติดกันเป็นพวง เหมือนช่อผลของมะไฟหรือลางสาด แต่ละผลมีขนาดประมาณ 1.5 x 2.5 ซม. ผลอ่อนสีเขียวมีนวลเคลือบ และเปลี่ยนเป็นสีเหลืองถึงหลืองอมส้ม เมื่อผลสุกแต่ละผลมีเมล็ดเดียว

ผักหวาน ผักพื้นเมือง ปลูกง่าย มีกินทั้งปี เด็ดยอดอ่อนมาทำแกง
ต้นผักหวาน

การขยายพันธุ์ของผักหวาน

ใช้เมล็ด/การขยายพันธุ์ผักหวานป่า การขยายพันธุ์ผักหวานป่าที่ได้ผลดีที่สุดในปัจจุบันคือ วิธีการเพาะเมล็ด เนื่องจากวิธีการอื่น ๆ เช่น การตอน การตัดชำ มีเปอร์เซ็นต์การออกรากด่ำมาก และใช้เวลานานไม่น้อยกว่า 4 เดือน จึงจะออกราก รวมทั้งจำนวนกิ่งที่ได้น้อย เนื่องจากต้นแม่พันธุ์หายาก การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดจึงเป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลมากที่สุด โดยมีเงื่อนไขและวิธีปฎิบัติ ดังนี้
คัดเฉพาะผลผักหวานป่าที่สุดและสดใหม่เท่านั้น แยกเนื้อหุ้มเมล็ดทิ้ง และขัดล้างเมล็ดให้สะอาดด้วยตะแกรง หรือภาชนะที่มีผิวหยาบ เช่นในกระดังหรือเข่งไม้ไผ่ ควรใส่ถุงมือยางขณะทำงานเนื่องจากเนื้อหุ้มเมล็ดมีสารที่ระคายเคืองต่อผิวหนัง นำเมล็ดที่ขัดสะอาดแล้วแช่น้ำ แยกเมล็ดที่ลอยน้ำออก นำเมล็ดที่จมน้ำขื้นผื่งพอสะเด็ดน้ำ คลุกด้วยยากันราให้ทั่ว แล้วนำขึ้นเกลี่ยในกระด้งหรือตะแกรงให้เป็นชั้น หนาไม่เกิน 1 นิ้ว คลุมตะแกรงด้วยกระสอบป่าน ที่ชุบน้ำหมาด ๆ เก็บไว์ในที่ร่ม 2-3 วัน ดรวจดูเมล็ด ถ้าเปลือกเมล็ดเริ่มแตกร้าว ให้นำไปเพาะในถุงพลาสติกที่มีความลึกไม่น้อยกว่า 8 นิ้ว วัสดุที่ใช้เพาะได้ผลดีควรใช้ดินลูกรัง ทรายหยาบ และปุ๋ยคอกเก่า หรือใบไม้ผุ ร่อนด้วยดะแกรงตาถี่ครื่งเซนดิเมตร ผสมกันในอัตราส่วน 1:1:1 โดยปริมาตร วิธีเพาะให้กดเมล็ดด้วยนิ้วมือพอให้เมล็ดจมเสมอผิวดิน หรือโผล่พ้นผิวดินเพาะเล็กน้อยนำไปไว้ไตัร่มเงาที่มีความเข้มแสง ประมาณ 40-50 % ดูแลรดน้ำให้พอวัสดุเพาะชื้น ระวังอย่าใหัแฉะ ในช่วงเดือนแรกผักหวานป่าจะมีการพัฒนาของระบบรากอย่างรวดเร็ว เมื่อเข้าเดือนที่สองจึงเริ่มทะยอยแทงยอดขึ้นพ้นดินให้เห็นบ้าง หลังจากเพาะได้ 2 เดือนครึ่ง ต้นผักหวานป่าจะสูงประมาณ 5 -10 ซม.หลังจากนี้อาจใช้ปุ๋ยเกร็ดสูตร 15-15-15 ผสมน้ำฉีดพ่นกล้าทุก 2 สัปดาห์ การเจริญเติบโตของลำต้นเหนือดินในปีแรกจะช้ามาก
การปลูกและบำรงรักษาผักหวานป่า ควรเริ่มเตรียมหลุมปลูกในช่วงหลังสงกรานต์ โดยขุดหลุมขนาด 50X50 ซม.รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักประมาณครึ่งปี๊บ คลุกเคล้าผสมกับหน้าดิน โดยลงหลุมทิ้งไว้ 2-3 อาทิตย์ในขณะเดียวกันก็เริ่มสร้าง ความแข็งแรงให้ต้นกล้าก่อนย้ายปลูกลงหลุม จริงด้วยการรดน้ำให้น้อยลง ให้ต้นกล้าได้รับ แสงแดดเพิ่มขี้นทีละน้อย ละลายปุ๋ยโปแตสเซียมในเตรท ความเข้มขันไม่เกิน 2 % (1 กรัมต่อน้ำ 50 ลิดร) รดต้นกล้าก่อนย้ายปลูก ประมาณ 2 อาทิตย์และงดให้น้ำ 1 วัน ล่วงหน้าก่อนย้ายปลูก
ในการถอดถุงพลาสติกเพื่อนำกล้าลงปลูกในหลุม ต้องระวังอย่าให้กระเปาะดินแตกหักหรือรากขาด เพราะจะทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเดิบโตเป็นเวลานาน การปลูกควรให้ต้นกล้าสูงกว่าปากหลุมประมาณ 5 ซม. แล้วพูนดินกลบโคนขึ้นโดยรอบ เพื่อป้องกันไม่ให้มีน้ำขังในหลุมปลูกเมื่อมีการให้น้ำหรือฝนตก จากนั้นหว่านเมล็ดถั่วเขียวเป็นวงรอบหลุมให้ห่างจากต้นกล้าประมาณ 15-20 ซม. เพื่อให้ต้นถั่วเป็นพี่เลี้ยงในระยะแรก ก่อนสิ้นฤดูฝนประมาณเดือนกันยายน ให้หว่านถั่วมะแฮะ หรือพืชตระกูลถั่วที่มีลำต้นสูงและไม่ทิ้งใบช่วงฤดูแล้ง โดยหว่านเป็นวงรอบห่างจากต้นผักหวานป่า รัศมี 70-100 ซม. เพื่อให้เป็นไม้บังร่มในช่วงฤดูแล้ง ระยะปลูกผักหวานป่าควรใช้ระยะ 2-3 X 2-3 เมตร โดยเลือกสภาพที่ดินที่ลาดเอียงเล็กน้อย หรืออาจปลูกแซมในส่วนที่ค่อนข้างแห้งแล้งได้ เช่นในสวนป่าสัก ผักหวานป่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปี จึงเจริญเติบโตถึงระยะเริ่มเก็บผลผลิตได้ การใส่ปุ๋ยกระตุ้นการเจริญเติบโต ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยที่หมักจนสลายตัวดีแล้ว หว่านกระจายโดยรอบโคนต้นในรัศมี 50 ซม. ต้นละ 1 ปี๊บในช่วงฤดูฝนปีละครั้ง ห้ามใช้จอบขุดพรวนรอบโคนต้น หากต้องการกำจัดวัชพืชให้ใช้ วิธีถอนหรือใช้มีดฟันให้ราบ เพื่อป้องกันรากผักหวานไม่ให้กระทบกระเทือน
การกระตุ้นยอดอ่อนเพื่อเก็บจำหน่าย เมื่อผักหวานป่าเจริญเติบโตเต็มที่ ก็เริ่มทำการตัดแต่งกิ่ง โดยหักปลายกิ่งแขนงทิ้งให้เหลือยาว 15-20 ซม. รูดใบแก่บางส่วนทิ้งให้เหลือติดกิ่งละ 3-4 ใบ พร้อม ๆ กับการให้น้ำพอดินชื้น เมื่อยอดแตกออกมายาวประมาณ 15-25 ซม. ก็ตัดออกและมัดเป็นกำส่งจำหน่ายได้ หลังจากตัดยอดออกจำหน่ายแต่ละครั้ง ให้ใส่ปุ๋ยคอกต้นละ 1-2 ปี๊บหว่านรอบโคนต้นพร้อมกับให้น้ำ เพื่อบำรุงต้นให้สมบูรณ์ไดยเร็วต่อไป
การย้ายต้นกล้าผักหวานป่าแบบล้างราก เนื่องจากในปัจจุบันพบว่า มีการจำหน่ายต้นกล้าเพาะเมล็ดจำนวนมาก ซึ่งมีปัญหาในการขนส่ง เนื่องจากน้ำหนักมากและเปลืองพื้นที่ จากผลการทดลองหาแนวทางส่งกล้าให้ได้จำนวนมากขึ้น และมีอัดราการชำรอดสูงอาจทำไต้ ดังนี้
เพาะต้นกล้าในแปลงที่ทำด้วยอิฐก่อขนาด 1 x 5 เมตร ลึก 60 ซม. ใช้วัสดุเพาะดินลูกรัง ทรายหยาบ และปุ๋ยหมักอัตราส่วน 1:1:1 หรือ 1:1:2 โดยปริมาตร ร่อนด้วยตะแกรงตาถี่ครึ่งเซนติเมตรผสมกัน คลุมแปลงเพาะให้ได้รับแสงประมาณ 40-50% เมื่อกล้าผักหวานป่า งอกสูงประมาณ 5-10 ซม. หรือก่อนการส่งกล้าให้ลูกค้าประมาณ 2 อาทิตย์ ให้เริ่มกระตุ้นให้ต้นกล้าแข็งแรงเช่นเดียวกับก่อนการย้ายปลูกลงหลุม เมื่อครบกำหนดให้ขุดต้นกล้าออกจากแปลง ระวังอย่าให้รากขาด ล้างดินออกจากรากให้สะอาด โดยใช้สายยางฉีดน้ำพร้อมกับตัด ส่วนเหนือดินทิ้งให้เหลือตอสูงประมาณ 5 ซม. นำต้นกล้าที่ล้างรากและตัดต้นทิ้งแล้วไปแช่ในน้ำยากันรา ประมาณ 15-20 นาที นำขึ้นผึ่งพอหมาด นำกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ซึมซับน้ำได้ดี มาแบ่งเป็นคู่ ๆ ซ้อนกัน 2 ชั้น โรยด้วยขุยมะพร้ามชื้นหรือแกลบดำที่ปราศจากเชื้อโรค (อาจเตรียมได้โดยการอบหรือนึ่ง หรือราดด้วยยากันราก่อนนำมาใช้) ให้เป็นแถบยาวบาง ๆ ความกว้างของแถบเท่ากับ ความยาวของรากต้นกล้า ต้องระวังวัสดุที่ใช้อย่าให้แฉะ นำกล้าผักหวานป่าประมาณ 50 กล้า วางเรียบบนแถบวัสดุรักษาความชื้น อย่าให้กล้าซ้อนกัน ม้วนกระดาาหนังสือพิมพ์ห่อต้นกล้าให้เป็นแท่งกลมพอหลวม ๆ เหมือนห่อโรตี ปิดหัวท้ายห่อ ฉีดด้วยยากันราให้กระดาษเปียกพอหมาด ๆ บรรจุในถุงพลาสติกที่เจาะรูระบายอากาศ ปิดปากหลวม ๆ แล้วบรรจุลงกล่องกระดาษลูกฟูกซึ่งเจาะรูด้านข้างและกั้นเป็นช่อง ๆ ภายในด้วยกระดาษลูกฟูก โดยวางในแนวตั้งพอหลวม ๆ ผนึกภายนอกลังตรงรอยต่อด้วยเทปกระดาษ โดยเว้นช่องระบายอากาศไว้แล้วนำไปส่งไปรษณีย์ การส่งแบบล้างรากเช่นนี้ ต้นกล้าจะทนทานได้นานประมาณ 8-10 วัน โดยมีอัตราการรอดตายสูง 80% ทั้งนี้เมื่อได้รับต้นกล้าแล้วต้องรีบชำทันที และเลี้ยงในสภาพแสง 40-50% พร้อมกับให้ชื้นอย่างสม่ำเสมอในระยะแรกๆ หลังย้ายชำแล้วอาจราดด้วยสารสตาร์ทเตอร์ ซึ่งมีขายทั่วไปในท้องตลาดตามอัตราที่แนะนำในฉลาก ข้อพึงระวังในการส่งกล้าแบบนี้ จะต้องระวังเรื่องความสะอาดเป็นพิเศษ และรากต้องไม่ขาด การห่อและการบรรจุลังต้องไม่แน่นเกินไปและต้องเจาะช่องระบายอากาศ

ธาตุอาหารหลักที่ผักหวานต้องการ

 –

ประโยชน์ของผักหวาน

การบริโภคผักหวานป่าควรปรุงให้สุกเสียก่อน เนื่องจากการบริโภคสด ๆ ในปริมาณมากอาจทำให้เกิดการเบื่อเมาเป็นไข้ และอาเจียนได้ การนำผักหวานป่ามาปรุงอาหารนั้นใช้ได้ทั้งส่วนที่เป็นยอดและใบอ่อน นำช่อผลอ่อน ๆ สำหรับผลแก่อาจลอกเนื้อทิ้งนำเมล็ดไปต้มรับประทานได้เช่นเดียวกับเมล็ดขนุน มีรสหวานมัน การปรุงอาหารจากผักหวานป่า นอกจากต้ม ลวก นิยมนำผักหวานมาเป็นแกล้มอาหารรสจัดจำพวก ส้มตำและลาบ หรือจิ้มกับแจ่วและน้ำพริกได้ทุกชนิด เป็นผักจิ้มน้ำพริกแล้ว อาจนำไปทำแกง แกงเลียง หรือต้มจืดได้ เช่นกัน

ผักหวาน ผักพื้นเมือง ปลูกง่าย มีกินทั้งปี เด็ดยอดอ่อนมาทำแกง
ยอดผักหวาน

สรรพคุณทางยาของผักหวาน

  • ประโยชน์ของผักหวานป่า คนโบราณนิยมนำมาทำยาสมุนไพรเพื่อรักษาโรคได้หลายชนิด
  • มีโปรตีน วิตามินซีและใยอาหารสูง ช่วยลดอาการเลือดออกตามไรฟันและช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี
  • รากผักหวานป่า สามารถนำมาต้มเพื่อแก้อาการปวดมดลูกและแก้ดีพิการ
  • แก่นต้นผักหวานสามาถนำมาต้มรับประทานแก้อาการปวดตามข้อ
  • แก้ร้อนในกระหายน้ำ ทำให้รู้สึกชุ่มชื่นขึ้น
  • ผักหวานอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินซี และสารประกอบฟีนอลิก
  • ช่วยลดอาการไข้ ทำให้ไข้หายเร็วขึ้น
  • ประโยชน์ของผักหวานป่า นำมาทำชาผักหวานป่า ดื่มแก้ร้อนในและต้านอนุมูลอิสระ
  • ผักหวานป่ามีประโยชน์แก้อาการกระสับกระส่าย
  • ผักหวานป่ามีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง มีประโยชน์ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
  • นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของยาแผนไทยเพื่อแก้ธาตุไฟ
  • ประโยชน์ของผักหวานป่าช่วยเพิ่มน้ำนมแม่หลังการคลอดบุตรได้ โดยนำมาต้มรวมกับต้นนมสาว
  • ใบและรากสามารถนำมาตำเพื่อรักษาแผลได้ ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น

คุณค่าทางโภชนาการของผักหวาน

คุณค่าทางโภชนาการของผักหวานป่า ผักหวานป่าจัดเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านแหล่งโปรตีน วิตามินซี และพลังงาน นอกจากนี้ยังมีปริมาณเยื่อใยพอสมควร ช่วยในการขับถ่ายให้ดีขึ้น

  • ยอดและใบสดที่รับประทานได้ 100 กรัม ประกอบด้วย
  • น้ำ 76.6 กรัม
  • โปรตีน 8.2 กรัม
  • คาร์โบไฮเดท 10 กรัม
  • เยื่อใย 3.4 กรัม
  • เถ้า 1.8 กรัม
  • แคโรทีน 1.6 มก.
  • วิตามินซี 115 มก.
  • พลังงาน 300 กิโลจูล (KJ)

การแปรรูปของผักหวาน

การนำผักหวานมาแปรรูปให้อยู่ในรูปแบบของเมนูอาหารคาวได้แก่ แกงผักหวานป่าใส่ไข่มดแดง, แกงเลียงผักหวานป่า, ต้มจืดผักหวานป่า เป็นต้น

เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับผักหวาน

References : www.bedo.or.th

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

2 Comments

Add a Comment