ผักเหมียง ผักเหลียง ผักพื้นบ้านในภาคใต้ นิยมปลูกแซมในสวนยางพารา
ชื่ออื่นๆ : เขลียง เรียนแก่ (นครศรีธรรมราช) เหลียง ผักกะเหรียง (ชุมพร) ผักเหมียง (พังงา)
ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทางตะวันตกของหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก
ชื่อสามัญ : เหลียง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gnetum gnemon L. var. tenerum Markgr.
ชื่อวงศ์ : Gnetaceae
ลักษณะของผักเหมียง
มีลักษณะคล้ายยางพารา ใบออกมาจากปลายยอดของต้นและกิ่ง ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามกัน ใบเป็นรูปรีปลายใบเรียวแหลม มีขนาด กว้าง 4 – 10 เซนติเมตร ยาว 10 – 20 เซนติเมตร ก้านใบยาวประมาณ 1 – 2 เซนติเมตร เนื้อใบบางแต่เหนียวคล้ายแผ่นหนังใบมีสีเขียวเป็นมัน แต่หากต้นอยู่ในที่โล่งสีของใบจะจางลงหรืออาจขาวทั้งหมด ยอดใบอ่อนมีรสชาติหวานมัน รับประทานได้ทั้งดิบและสุก ผลจะมีลักษณะเป็นรูปกระสวย ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว เมื่อแก่จัดเปลือกและเนื้อจะมีสีเหลือง เนื้อมีรสหวาน
การขยายพันธุ์ของผักเหมียง
ใช้เมล็ด/การเพาะเมล็ด และการปักกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่ผักเหมียงต้องการ
–
ประโยชน์ของผักเหมียง
จัดเป็นผักพื้นบ้านในภาคใต้ที่นิยมปลูกแซมในสวนยางพารา โดยใบอ่อนรับประทานได้ ใช้รับประทาน ทั้งยอดยอด และ ผล เมล็ดอ่อนใช้แกงจืด เมล็ดแก่ต้มกับเกลือรสชาติอร่อย ในอินโดนีเซียนำไปใส่ซุป เรียก Sayur Asam นำไปบดเป็นผงแล้วใส่แป้งทำเป็นขนมซึ่งมีรสขม เรียก emping
สรรพคุณทางยาของผักเหมียง
ใบอ่อน มีคุณค่าทางอาหารสูงเป็นยาบำรุงกำลัง ตำพอกใบหน้าช่วยลอกฝ้าใบหน้าเป็นนวลใย
คุณค่าทางโภชนาการของผักเหมียง
- คุณค่าทางโภชนาการของผักเหรียงหรือผักเหมียง 100 กรัม ประกอบด้วย
- แคลอรี 400.61
- ไขมัน 1.17 กรัม
- โปรตีน 6.56 กรัม
- ฟอสฟอรัส 224.37 ม.ก.
- วิตามินเอ 10.889
- วิตามินบี 1 0.18 ม.ก.
- วิตามินบี 2 1.25 ม.ก.
- วิตามินไนอาซิน 1.73 ม.ก.
- น้ำ 35.13 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 90.96 กรัม
- แคลเซียม 1,500.56 ม.ก.
- เหล็ก 2.51 ม.ก.
- เถ้า 1.30 กรัม
สารอาหารสำคัญ คือ ไขมัน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และวิตามินเอ บี1 บี2
การแปรรูปของผักเหมียง
ใช้ยอดอ่อน ใบเพสลาดมาประกอบอาหารได้อย่างด้วยกันคือ แกงเลียง, แกงจืด, ต้มและลวก, ทำห่อหมก, จิ้มน้ำพริก, ต้มต้มกะทิ, ผัดผักรวม, ผัดน้ำมันหอย ฯลฯ
References : www.bedo.or.th
เรียบเรียงข้อมูลโดย : เกษตรตำบล.คอม
2 Comments