ผักแขยง
ชื่ออื่นๆ : ผักพา (ภาคเหนือ), จุ้ยหู่โย้ง (จีนแต้จิ๋ว), สุ่ยฝูโหยง (จีนกลาง), ผักกะแยง แขยง คะแยง ผักกะออม มะออม ผักลืมผัว ควันเข้าตา อีผวยผาย
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : ผักแขยง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Limnophila aromatica (Lam.) Merr.
ชื่อวงศ์ : SCROPHULARIACEAE
ลักษณะของผักแขยง
– ต้น เป็นไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน เป็นพืชฤดูเดียวหรือหลายฤดู และจัดเป็นวัชพืชในนาข้าว ลำต้นตั้งตรงสีเขียวมีขนปกคลุม และมีความสูงได้ประมาณ 30-70 เซนติเมตร อาจแตกกิ่งมากหรือไม่แตกกิ่ง ลำต้นทอดเลื้อย ลำต้นทั้งต้นมีกลิ่นหอมหรือกลิ่นฉุนรุนแรง
– ใบ ใบเดี่ยวขนาดเล็กออกเรียบสลับ อาจมี 3 ใบ ออกอยู่รอบๆ ข้อรูปรีหรือ รูปขอบขนาน
หรือรูปหอก รูปไข่ ใบยาว 1.5-5 ซม. กว้าง 1-2 ซม. ไม่มีก้านใบฐานใบจะหุ้มลำต้นไว้ ขอบใบหยัก
เป็นฟันเลื่อย ด้านบนของใบมีต่อมเล็กๆ มากมายมีกลิ่นฉุน
– ดอก ดอกเดี่ยวออกตรงซอกใบหรือออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยง
5 กลีบ สีเขียวมีขนกลีบดอกสีแดง สีชมพูอ่อน หรือสีม่วง
การขยายพันธุ์ของผักแขยง
ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/แยกเหง้าปลุก
ธาตุอาหารหลักที่ผักแขยงต้องการ
ประโยชน์ของผักแขยง
- ทั้งต้น ยอดอ่อน และใบอ่อน สามารถรับประทานเป็นผักสดร่วมกับลาบ ก้อย แจ่ว น้ำพริก ส้มตำ ซุปหน่อไม้ หรือนำไปเป็นเครื่องปรุงรสและแต่งกลิ่นช่วยดับกลิ่นคาวสำหรับต้มส้ม แกงหน่อไม้ แกงอ่อมต่าง ๆ เช่น อ่อมกบ อ่อมเขียด อ่อมหอย อ่อมปลา อ่อมเนื้อวัว เป็นต้น
- การรับประทานผักแขยงแบบสดๆ ยังช่วยดับกลิ่นตัว กลิ่นเต่าได้ด้วย
- ส่วนประโยชน์ในด้านอื่นๆ เกษตรกรจะนำผักแขยงมาใช้ในการไล่แมลง และยังมีงานวิจัยที่พบว่า น้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้ซึ่งมีกลิ่นคล้ายกับน้ำมันสน และสารสกัดด้วยไอน้ำสามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่มักพบปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อาหารและนม รวมถึงเนื้อสัตว์และไข่ไก่ ซึ่งทำให้เกิดอาหารเป็นพิษ
สรรพคุณทางยาของผักแขยง
- ผักแขยงมีรสเผ็ดร้อน กลิ่นหอมฉุน ช่วยทำให้เจริญอาหาร ลดอาการเบื่ออาหาร (ทั้งต้น)
- หมอยาพื้นบ้านแนะนำว่าให้กินผักแขยงเพื่อป้องกันเส้นเลือดตีบตันและไข้ร้อนใน (ทั้งต้น)
- ใช้เป็นยาแก้ไข้ ลดไข้ ด้วยการใช้ต้นผักแขยงสด ๆ ประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน (ทั้งต้น)
- ทั้งต้นใช้เป็นยาขับลมและเป็นยาระบายท้อง (ทั้งต้น)
- ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ (ทั้งต้น)
- ใช้แก้อาการคัน กลาก และฝี ด้วยการใช้ต้นสดนำมาต้มกับน้ำใช้ชะล้างบริเวณที่เป็น หรือนำมาคั้นเอาน้ำทา หรือนำมาตำพอกบริเวณที่เป็น (ทั้งต้น)
- ทั้งต้นมีสรรพคุณช่วยแก้น้ำนมแม่ที่มีรสเปรี้ยว (ทั้งต้น)
คุณค่าทางโภชนาการของผักแขยง
การแปรรูปของผักแขยง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10571&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com