ผักแปม
ชื่ออื่นๆ : ผักแปม (เหนือ, กลาง)
ต้นกำเนิด : ผักพื้นบ้านของภาคเหนือ
ชื่อสามัญ : Acanthopanax trifoliatum Merr.
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eleutherococcus trifoliatus (L.) S.Y.Hu
ชื่อวงศ์ : ARALIACEAE
ลักษณะของผักแปม
ต้น ไม้พุ่มกึ่งเลื้อย สูง 1-2 ม. กิ่งก้านสีเขียว มีหนามกระจายอยู่ ทุกส่วนของลำต้น
ใบ เป็นใบประกอบแบบตีนนก ก้านใบยาว มีใบย่อย 3-5 ใบ ลักษณะใบรูปรีหรือรูปรีแกมไข่กว้าง มีขนาดกว้าง 3-4 ซม. ยาวประมาณ 6-8 ซม. ปลายใบแหลมเป็นติ่งยื่นยาวออกไป โคนใบสอบ ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อยหรือซี่ฟัน เส้นใบเห็นชัดทั้งด้านบนและด้านล่าง ก้านใบย่อยยาว ด้านบนเป็นร่อง ก้านใบรวมยาว ด้านบนแบนอาจมีหนาม
ดอก ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ก้านช่อยาว ดอกจำนวนมากติดกันเป็นกระจุกที่ปลายก้านแบบดอกผักชี ก้านดอกเล็ก กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายมี 5 หยัก กลีบดอกมี 5 กลีบ
ผล ลักษณะแบน มีขนาดกว้างและยาวประมาณ 3-4 ซม.
การขยายพันธุ์ของผักแปม
การเพาะเมล็ด, ปักชำกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่ผักแปมต้องการ
ประโยชน์ของผักแปม
ภาคเหนือนิยมรับประทานใบอ่อนและยอดเป็นผักสดแกล้มกับลาบ หรือทำเป็นแกงอ่อม มีรสชาติฝาดขมเล็กน้อย
สรรพคุณทางยาของผักแปม
- น้ำต้มจากเปลือกต้น หรือถ้าจะให้ได้ผลเร็วขึ้น ให้นำเปลือกไปย่าง หรืออบเสียก่อนแล้วแช่ในแอลกอฮอล์ ใช้แก้โรคผอมแห้งและโรคประสาท
- ทางการแพทย์พื้นบ้านใช้ใบอ่อนและยอดแก้วัณโรค บำรุงร่างกาย รักษาอาการอ่อนเพลีย รักษาเลือดคั่งในแผลฟกช้ำ รากและเปลือกต้นใช้บำรุงร่างกาย แก้ปวดหลังปวดกระดูก รักษาเบาหวาน รักษาอาการผอมแห้งแรงน้อย
ในใบผักแปมมีสารกลุ่มฟีโนลิกและฟลาโวนอยด์ในปริมาณสูง เมื่อศึกษาเพิ่มเติมพบว่า สารสำคัญที่แสดงฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นได้แก่ chlorogenic acid, caffeoylquinic acids, rutin, isoqurcetin และ quercitrin ดังนั้น ผักแปม ซึ่งเป็นผักพื้นบ้านของประเทศไทย จึงน่าจะเป็นสมุนไพรที่มีศักยภาพในการที่จะพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์และเภสัชกรรมโดยเฉพาะในด้านการต้านออกซิเดชั่น ส่งเสริมความจำและการเรียนรู้ต่อไป อย่างไรก็ตาม การนำสมุนไพรซึ่งเป็นสารจากธรรมชาติไปประยุกต์ใช้นั้น จำเป็นต้องมีการควบคุมคุณภาพ เริ่มตั้งแต่วัตถุดิบสมุนไพร กระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป โดยเฉพาะการกำหนดมาตรฐาน (standardization) และการทดสอบความเป็นพิษ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรนั้นมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้
คุณค่าทางโภชนาการของผักแปม
การแปรรูปของผักแปม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9913&SystemType=BEDO
https://pharmacy.mahidol.ac.th
https://www.flickr.com