ผักแว่น สามารถนำมากินเป็นผักสด มีคุณค่าทางอาหาร และสรรพคุณทางยา

ผักแว่น

ชื่ออื่นๆ : ผักใบบัวบก, ผักลิ้นปี่ (ภาคใต้) หนูเต๊าะ (กระเหรี่ยง-ภาคเหนือ) ผักแว่น (ภาคกลาง, ภาคเหนือ, ภาคอีสาน) ผักก๋ำแหวน

ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : Water clover, Clover fern

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Marsilea crenata Presl

ชื่อวงศ์ : MARSILEACEAE

ลักษณะของผักแว่น

ต้น เป็นเฟิร์นน้ำชนิดหนึ่ง ชอบขึ้นตามชายตลิ่ง หรือที่แฉะที่น้ำท่วมขัง มักพบเป็นวัชพืชในนาข้าว ลำต้นเป็นก้านยาวเลื้อยไปตามพื้น แตกรากและใบตามข้อหรือตาที่แตะกับพื้นและงอกเป็นต้นใหม่ มีก้านใบยาว แตกกิ่งก้านทอดเลื้อยตามพื้นดิน หรือบนผิวน้ำ มีราก และใบงอกออกตรงข้อ ลำต้นมีกลิ่นหอมคล้ายรำ เมื่อยังอ่อนมีสีเขียว ตอนแก่มีสีน้ำตาล มีขนอ่อนปกคลุม

ใบ ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อย 4 ใบ ใบย่อยรูปร่างแบบสามเหลี่ยมปลายใบโค้งกลม ยาว 5-15 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายลิ่ม แตกออกจากปลายก้านใบจุดเดียวกัน โคนใบสอบเข้าหากัน ชอบใบเรียบ หรือเป็นคลื่น หรือเป็นจักฟันเลื่อย ไม่มีดอก แต่จะมีอับสปอร์เป็นเม็ดสีดำ คล้ายเมล็ดถั่วเขียว ออกเป็นช่อที่โคนก้านใบ มีก้านชู ขณะยังอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลดำ

ต้นผักแว่น
ต้นผักแว่น ลำต้นแตกกิ่งก้านทอดเลื้อยตามพื้นดิน ห

การขยายพันธุ์ของผักแว่น

เถา, ไหล, สปอร์

ธาตุอาหารหลักที่ผักแว่นต้องการ

ประโยชน์ของผักแว่น

  • ใบอ่อน ยอดอ่อน และก้านใบใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก ลาบ ก้อย ส้มตำ ซุปหน่อไม้ ใช้เป็นเครื่องเคียงกับอาหารชนิดต่าง ๆ หรือนำไปใช้ประกอบอาหาร เช่น ทำแกงจืด แกงอ่อม เจียวไข่ เป็นต้น และเมื่อนำมาต้มจะมีลักษณะอ่อนนิ่มทำให้รับประทานได้ง่าย จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กและผู้สูงอายุ
  • ในประเทศอินโดนีเซีย ในเมืองสุราบายา นิยมใช้ผักแว่นนำมาเสิร์ฟร่วมกับมันเทศและเพเซล (Pacel) หรือซอสเผ็ดที่ผลิตจากถั่วลิสง
ใบผักแว่น
ใบผักแว่น ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อย 4 ใบ

สรรพคุณทางยาของผักแว่น

  1. ผักแว่นมีธาตุเหล็กสูง จึงช่วยในการเสริมสร้างเม็ดเลือดแดง (ต้น)
  2. ผักแว่นช่วยลดไข้ (น้ำที่ได้จากการนำใบสดมาต้ม)
  3. ช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ (ต้น)
  4. ทั้งต้นใช้ผสมกับใบธูปฤาษี ทุบพอแตก ใช้แช่น้ำที่มีหอยขมเป็น ๆ อยู่ ประมาณ 2-3 นาที นำมาดื่มเป็นยาแก้ไข้ และอาการผิดสำแดงได้ (ทั้งต้น)
  5. ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ (ต้น)
  6. ผักแว่นมีรสจืดและมัน ช่วยบรรเทาความร้อนในร่างกาย ระงับอาการร้อนใน แก้ร้อนใน แก้อาการกระหายน้ำ (น้ำที่ได้จากการนำใบสดมาต้ม, ต้น)
  7. ช่วยบำรุงสายตา รักษาโรคตาอักเสบ รักษาต้อกระจก ป้องกันโรคตาบอดตอนกลางคืน (ใบ, ต้น)
  8. น้ำที่ได้จากการนำใบผักแว่นมาต้มช่วยสมานแผลในปากและลำคอได้ (ใบ, ต้น)
  9. ช่วยรักษาโรคปากเปื่อย ปากเหม็น (น้ำที่ได้จากการนำใบสดมาต้ม)
  10. ทั้งต้นใช้ต้มน้ำดื่ม ช่วยแก้เจ็บคอ อาการเสียงแหบ (ใบ, ทั้งต้น)
  11. ช่วยแก้อาการท้องเสีย (น้ำที่ได้จากการนำใบสดมาต้ม)
  12. เนื่องจากมีเส้นใยอาหารมากจึงช่วยป้องกันและแก้อาการท้องผูกได้ (ต้น)
  13. ช่วยขับปัสสาวะ (น้ำที่ได้จากการนำใบสดมาต้ม)
  14. ช่วยแก้ดีพิการ (ต้น)
  15. ใบสดใช้เป็นยาภายนอก ช่วยรักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ช่วยในการสมานแผล เร่งการสร้างเนื้อเยื่อ และช่วยระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดหนอง และช่วยลดการอักเสบ ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 1 กำมือ นำมาล้างให้สะอาดแล้วตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำนำมาใช้ทาบริเวณแผล (ใบ)
  16. มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อราอันเป็นสาเหตุของโรคกลาก (ไม่ระบุว่าเป็นส่วนไหน แต่เข้าใจว่าเป็นใบ)
  17. ช่วยรักษาโรคเกาต์ (ต้น)
  18. ปัจจุบันมีการนำไปพัฒนาเป็นยาชนิดครีมที่นำมาใช้ทาเพื่อรักษาแผลอักเสบหลังการผ่าตัด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าเป็นใบ)

คุณค่าทางโภชนาการของผักแว่น

ผักแว่น 100 กรัม ให้ พลังงาน 15 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย

  • โปรตีน 1 กรัม
  • แคลเซี่ยม 37 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 66 มิลลิกรัม
  • เหล็ก 3.5 มิลลิกรัม
  • ไนอาซีน 3.4 มิลลิกรัม
  • ตามินซี 3 มิลลิกรัม
  • เบต้า-คาโรทีน 98.73 หน่วย RE

การแปรรูปของผักแว่น

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9858&SystemType=BEDO
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%99
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment