ผักโหมหนาม พืชล้มลุก มีหนามแหลมตามข้อ

ผักโหมหนาม

ชื่ออื่นๆ : ผักโหมหนาม, ปะตึ, แม่ล้อคู่

ต้นกำเนิด : แถบอเมริกาเขตร้อน

ชื่อสามัญ : ผักขมหนาม Spiny amaranth

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amaranthus spinosus Linn.

ชื่อวงศ์ : Amaranthaceae

ลักษณะของผักโหมหนาม

ต้น  เป็นพืชล้มลุกอายุสั้นประมาณ 2 – 4 เดือน หรือเมื่อออกดอกติดเมล็ดแล้วก็จะค่อยๆ เหี่ยวแห้งตาย หรือเรียกว่าพืชที่มีอายุปีเดียว ลำต้นตั้งตรงแตกกิ่งมาก ความสูงประมาณ 1 ม. ลำต้นเป็นเหลี่ยมหรือกลมมีร่องละเอียดตามความยาวของลำต้นผิวเรียบ การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบสลับ

ใบ  ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ หรือรูปไข่แกมใบหอกกว้าง ขนาดประมาณ 7.00 x 4.00 ซม. ปลายใบแหลมโคนสอบแคบ ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 7.00 ซม. และมีหนามแหลมยาวตามข้อ 1-3 ซม.  2 อันที่โคนก้านใบ

ดอก  ดอกออกเป็นช่อแบบช่อเชิงลด หรือเป็นช่อกระจุก ออกที่ปลายกิ่ง ชอกใบ ซอกกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบดอกเป็นเหมือนกาบปลายแหลมสีขาวและเขียวขนาดเล็ก

ผล  ผลเป็นแบบแห้งแล้วแตก โดยแตกตามขวางของผล เมล็ดสีน้ำตาลเป็นมันเงา ทรงกลมตรงกลางทั้งสองด้านนูน ขนาดเล็กประมาณ 0.05 ซม.

ผักโหมหนาม
ลำต้นตั้งตรง ดอกออกเป็นช่อ

การขยายพันธุ์ของผักโหมหนาม

เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ผักโหมหนามต้องการ

ประโยชน์ของผักโหมหนาม

ต้นช่วยขับปัสสาวะ และแน่นท้อง

สรรพคุณทางยาของผักโหมหนาม

ทั้งต้นย่างไฟแก้ตกเลือด  ขับน้ำนม ขับปัสสาวะ

คุณค่าทางโภชนาการของผักโหมหนาม

การแปรรูปของผักโหมหนาม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11531&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment