ผักไผ่น้ำ
ชื่ออื่นๆ : เอื้องเผ็ดม้า, ผักไผ่น้ำยอดแดง, ผักบุ้งท้องแดง, ผักลิ้นไฟ
ต้นกำเนิด : ทวีปแอฟริกา ในประเทศไทยพบทุกภาค
ชื่อสามัญ : ผักไผ่น้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Polygonum tomentosum Willd
ชื่อวงศ์ : POLYGONACEAE
ลักษณะของผักไผ่น้ำ
ต้น พืชล้มลุก ลำต้นกลม อวบน้ำ เจริญเติบโตเป็นกอไม่แตกแขนง มีเหง้าอยู่ใต้ดินแตกกอเจริญเป็นต้นใหม่ได้ พุ่มต้นสูงประมาณ 1-2 เมตร
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยวออกจากลำต้นแบบเวียนรอบลำต้น ใบมีรูปร่างเรียวยาว ปลายใบแหลมฐานใบมน โคนใบมีขน ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบมีสีเขียว
ดอก ออกเป็นช่อตั้งตรงที่ปลายอดของลำต้น แต่ละดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง 2 กลีบ ดอกตูมจะมีใบประดับเป็นกาบสีแดงหรือสีน้ำตาลห่อหุ้ม ดอกย่อยแต่ละดอกในช่อดอกจะติดกันแน่น กลีบดอกส่วนโคนจะหลอมรวมกันเป็นรูปกรวย ปลายกลีบดอกแผ่บานออกเป็นรูปปากแตร มีสีขาว ใจกลางดอกมีสีเหลืองอ่อน ขอบกลีลดอกหยักเป็นคลื่น ออกดอกเกือบตลอดปี
ผล ผลมีรูปร่างกลมมีเนื้อแข็งสีแดงมีกลีบเลี้ยง เหลือติดอยู่ที่ผล เมล็ดมีสีดำเป็นมัน
การขยายพันธุ์ของผักไผ่น้ำ
เพาะเมล็ดและปักชำ
ธาตุอาหารหลักที่ผักไผ่น้ำต้องการ
ประโยชน์ของผักไผ่น้ำ
- ใบและยอดอ่อน สามารถกินได้ เป็นผักสด ผักจิ้มน้ำพริก หรือนำมาแกงเป็นเครื่องเทศ
- ชาวเขาใบขยี้ หรือตำผสมกับปูนกินหมาก ทาเป็นยาแก้ขี้กลาก เกลื้อนตามผิวหนัง
สรรพคุณทางยาของผักไผ่น้ำ
เป็นยาช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาถ่าย แก้ตกขาว โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ขับพยาธิ แผลอักเสบบวม ทำให้แท้ง
โทษ : เหง้ามีพิษมากทำให้ท้องร่วง อาเจียน
คุณค่าทางโภชนาการของผักไผ่น้ำ
การแปรรูปของผักไผ่น้ำ
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10569&SystemType=BEDO
www.rspg.or.th
www.youtube.com