ไข่น้ำคือ วัชพืชน้ำ มีสีเขียว

ผำ

ชื่ออื่นๆ : ไข่แหนไข่น้ำ (ภาคกลาง) ไข่ขำ (ภาคอีสาน) ผำ (ภาคเหนือ)

ต้นกำเนิด : มีขึ้นอยู่ตามแหล่งน้ำที่เป็นน้ำนิ่ง เช่น บึง และหนองน้ำธรรมชาติทั่วไป

ชื่อสามัญ : Water Meal, Swamp algae

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wolffia globsa Hartog & plass

ชื่อวงศ์ : LEMNACEAE

สกุล : Wolffia

ลักษณะของผำ

ผำหรือไข่น้ำ เป็นวัชพืชน้ำมีดอกที่มีขนาดเล็กที่สุด ผำเป็นพืชน้ำ คล้ายตะไคร่น้ำ อาศัยลอยอยู่บนผิวน้ำ อาจลอยอยู่เป็นกลุ่มล้วน ๆ หรือลอยปนกับพืชชนิดอื่น ๆ เช่น แหน แหนแดง ก็ได้ มีรูปร่างรี ๆ ค่อนข้างกลม มีขนาดยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร แต่ละต้นมีสีเขียว ไม่มีราก ไม่มีใบ ต้นประกอบด้วยเซลล์ชนิดพาเรงคิมาเป็นส่วนใหญ่ มีช่องอากาศแทรกอยู่ระหว่างเซลล์ ทำให้เห็นเป็นฟองน้ำ และช่วยให้มีการลอยตัวอยู่ในน้ำได้ ไม่มีเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่นำน้ำและอาหาร มีช่องให้อากาศเข้าออกได้อยู่ทางบนของต้น

พบได้ในเขตประเทศอบอุ่นทั่วโลก ทั้งเอเชีย และแอฟริกา ส่วนในประเทศไทยพบแพร่กระจายในทุกภาค ตามแหล่งน้ำนิ่งต่างๆ โดยเฉพาะสระน้ำหรือบ่อน้ำขนาดเล็ก ซึ่งมักอยู่บนกับแหนเป็ดชนิดอื่นหรือลอยอาศัยที่ผิวน้ำเพียงชนิดเดียว

แหล่งกำเนิดผำ
แหล่งกำเนิด การกระจายตัวของผำ

การขยายพันธุ์ของผำ

การขยายพันธุ์มี 2 แบบ ได้แก่

  1. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เนื่องจากไข่แหนเป็นพืชมีดอกขนาดเล็กที่สุด ดอกของไข่แหนจะเจริญเติบโตออกทางช่องข้างบนของต้น ดอกไม่มีกลีบดอก และไม่มีกลีบเลี้ยง ดอกตัวผู้จะมีเกสรตัวผู้ 1 อัน ประกอบด้วยอับละอองเรณู 2 อับ ดอกตัวมีรังไข่ที่มี 1 ช่องและมีไข่อยู่ 1 ใบ ก้านเกสรตัวเมียสั้น ยอดเกสรตัวเมียมีลักษณะแบน เมล็ดมีขนาดเล็ก กลมเกลี้ยง ยังไม่ปรากฏว่ามีไข่แหนมีดอกในประเทศไทย มีแต่รายงานการพบเห็นในประเทศอื่น ไข่แหนจะมีดอกและเมล็ดในราวๆเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม
  2. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อ ซึ่งมีผู้ทำการศึกษาการเจริญเติบโตแล้วพบว่า โดยเฉลี่ยแล้ว ไข่แหนแต่ละต้นจะแตกหน่อให้ต้นใหม่ทุก ๆ 5 วัน

การเพาะเลี้ยง

การเพาะเลี้ยงไข่ผำ วัสดุที่เพาะเลี้ยงอาจเป็นโอ่ง อ่างน้ำ กะละมัง หรือท่อซีเมนต์ หากใช้ท่อซีเมนต์ต้องเทปูนรองพื้น ป้องกันน้ำรั่ว ใส่ท่อระบายน้ำทิ้งไว้เพื่อการเปลี่ยนถ่ายน้ำ และแช่น้ำทิ้งไว้ให้บ่อหมดความเป็นปูนหรือที่เรียกว่าให้บ่อจืดก่อน จึงจะเลี้ยงผำได้ สถานที่สำหรับเลี้ยงต้องเป็นที่ค่อนข้างร่ม อาจใช้ใต้ร่มไม้ก็ได้ หากจำเป็นต้องเลี้ยงกลางแดดให้พรางแสงด้วยซาแรน 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะช่วยให้ผำโตดี และให้โปรตีนสูงกว่าการเลี้ยงกลางแดดจัด

การเก็บเกี่ยว

ทำได้ 2 แบบ คือ เก็บครั้งเดียวแล้วเลี้ยงใหม่ หรือเก็บสัปดาห์ละครั้ง แต่ควรเก็บ 40 เปอร์เซ็นต์ ของผำในบ่อเลี้ยง เพื่อให้ผำเจริญเติบโตได้เพียงพอกับการรับประทานได้บ่อยครั้ง

การเก็บรักษา

หากเหลือจากรับประทานสามารถเก็บให้คงความสดอยู่ได้ในอุณหภูมิห้องได้ไม่เกิน 2 วัน และเก็บในตู้เย็นได้ประมาณ 1 สัปดาห์

ธาตุอาหารหลักที่ผำต้องการ

ประโยชน์ของผำ

  • ไข่ผำเป็นอาหารของสัตว์น้ำและสัตว์ปีกหลายชนิด
  • คนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ยังได้นำไข่แหนมาประกอบเป็นอาหาร อาทิ แกงไข่ผำ ไข่เจียวไข่ผำ ยำไข่ผำ เป็นต้น ไข่แหนมีสารพิษต้านฤทธิ์สารอาหาร จึงต้องนำไข่แหนมาทำให้สุกก่อนรับประทาน
  • ไข่แหนยังมีแคลเซียมและบีตา-แคโรทีนสูง
  • ประโยชน์ในการใช้ฟื้นฟูสภาพแหล่งน้ำที่ปนเปื้อนแคดเมียม
  • ไข่ผำนำปล่อยในบ่อเลี้ยงปลาชนิดที่กินพืช อาทิ ปลานิล ปลาตะเพียน และปลาไน เป็นต้น เพื่อเป็นอาหารเสริมตามธรรมชาติให้แก่ปลา ทั้งนี้ จะปล่อยในปริมาณน้อย และต้องควบคุมปริมาณไม่ให้แพร่กระจายปกคลุมผิวน้ำ
  • ใช้ปล่อยในบ่อบำบัดน้ำเสียสำหรับลดค่าความสกปรกของน้ำ โดยเฉพาะสารไนโตรเจนที่เป็นแร่ธาตุสำคัญของการเติบโต และโลหะหนักชนิดต่างๆ
  • ผำสามารถสะสมแคดเมียมได้ สะสม 80.65 mg/g
ผำ
ผำลำต้นสีเขียวรูปร่างรี ค่อนข้างกลม

สรรพคุณของผำ

คุณค่าทางโภชนาการของผำ

ในไข่ผำ 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 8 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย

  • เส้นใย 0.3 กรัม
  • แคลเซียม 59 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 25 มิลลิกรัม
  • เหล็ก 6.6 มิลลิกรัม
  • และยังมีวิตามินเอ บีหนึ่ง บีสอง วิตามินซี ไนอะซิน และมีกรดอะมิโนที่จำเป็นหลายชนิด เช่น ลิวซีน ไลซีน วาลีน ฟีนิวอลานีน ธีโอนีน ไอโซลิวซีน และมีเบต้าแคโรทีนสูงมาก คลอโรฟิลล์ในผำ เป็นสารสีเขียวที่พบในพืช โครงสร้างมีลักษณะคล้ายฮีมที่อยู่ในฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในเลือด มีรายงานการวิจัยถึงฤทธิ์ เช่น ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ รักษาอาการท้องผูก ฤทธิ์ต้านการติดเชื้อ ช่วยปรับสภาพร่างกายให้เป็นด่างในคนที่มีสภาวะเครียด หรือร่างกายมีความเป็นกรดจากอาหาร และช่วยรักษาภาวะซีดในคนที่เป็นโรคโลหิตจาง

การแปรรูปผำ

ไข่ผำใช้เป็นส่วนประกอบของขนม อาทิ ขนมเกรียบกุ้ง เป็นต้น

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : https://th.wikipedia.org, www.opsmoac.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com, https://archives.mju.ac.th

One Comment

Add a Comment