ฝนแสนห่า ใบใช้รักษาอาการบาดเจ็บ แผลฟกช้ำ

ฝนแสนห่า

ชื่ออื่นๆ : กระดึงช้าง (ภาคกลาง); จิงจ้อหลวง (ประจวบคีรีขันธ์); ดูลาน (ยะลา); ฝนแสนห่า (จันทบุรี); ย่านขน (สงขลา); ลูกช้าง (กาญจนบุรี); เอ็นขน (สุราษฎร์ธานี); เอ็นน้ำนม (ตรัง)

ต้นกำเนิด : ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามชายป่า ที่โล่งความสูงถึงประมาณ 1400 เมตร

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Argyreia capitiformis (Poir.) Ooststr.

ชื่อวงศ์ : CONVOLVULACEAE

ลักษณะของฝนแสนห่า

ต้น :ไม้เถาล้มลุก มีขนหยาบตามลำต้น แผ่นใบ ใบประดับ ช่อดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกด้านนอก

ใบ : ใบรูปไข่ รูปขอบขนาน หรือเกือบกลม ยาว 8–18 ซม. ปลายแหลมหรือแหลมยาว โคนรูปหัวใจ ก้านช่อดอกยาว 6–30 ซม. ใบประดับรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 1.5–2.5 ซม. ติดทน ก้านดอกสั้นมากหรือไร้ก้าน กลีบเลี้ยงรูปขอบขนาน ปลายแหลมยาว 3 กลีบนอกยาว 1.5–1.7 ซม. กลีบคู่ในยาว 1–1.2 ซม.

ดอก : ดอกสีชมพูหรือม่วงอ่อน รูปปากแตร ยาว 4.5–5.5 ซม. เกสรเพศผู้ไม่ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 1.5 ซม. โคนมีต่อมขนยาว รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 3 ซม. ไม่ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก

ผล : ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8 มม. สุกสีส้มแดง ส่วนมากมี 4 เมล็ด รูปไข่แกมสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 7 มม.

ฝนแสนห่า
ฝนแสนห่า ดอกสีม่วงอ่อน รูปแตร

การขยายพันธุ์ของฝนแสนห่า

การชำกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่ฝนแสนห่าต้องการ

ประโยชน์ของฝนแสนห่า

สรรพคุณทางยาของฝนแสนห่า

  • ใบ ใช้รักษาอาการบาดเจ็บ แผลฟกช้ำ
  • ลำต้นและใบ แช่น้ำ ทาแก้อาการชาตามแขนขา

คุณค่าทางโภชนาการของฝนแสนห่า

การแปรรูปของฝนแสนห่า

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9883&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment